ตัวอย่างกรณีศึกษา : ผู้ช่วยอาจารย์มหาวิทยาลัย
หน้าที่การทำงาน : ช่วยเหลือการสอนของอาจรย์ คุมสอบ ตรวจรูปแบบการทำปัญหาพิเศษของนักศึกษา และแนะนำแนวทางการทำปัญหาพิเศษ
บริการที่เกี่ยวข้องที่สามรถนำมาประยุกต์ใช้ได้
บริการยืมคืน : มีการใช้ยืมเล่มปัญหาพิเศษ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและมหาวิทยลัยอื่นๆ ในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง
บริการสอนการใช้ : สอนการพิมพ์และการจัดหน้าของปัญหาพิเศษให้ถูกต้องถามระเบียบของมหาวิทยาลัย และสอนการเขียนบรรณานุกรมและการใช้สารสนเทศต่างๆเพื่อนำมาเขียนปัญหาพิเศษ
บริการตอบคำถาม : รับฟังและตอบข้อสงสัยในการทำปัญหาพิเศษของนักศึกษา ผ่านทางอีเมล หรือที่โต๊ะบริการตลอดเวลาการทำงาน และนอกเวลาตามเห็นสมควร
Actting Sub Lt.Pompo
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554
บทความเรื่อง Web/Library 2.0 จาก ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
ก้าวสู่ห้องสมุด 2.0 (Library 2.0) ได้อย่างไร |
เขียนโดย Boonlert Aroonpiboon | |
Library 2.0 คืออะไร ลักษณะใดของห้องสมุดจึงจะเรียกว่าเป็นการพัฒนาเพื่อก้าวสู่ Library 2.0 ประเทศไทยก้าวสู่ยุค Library 2.0 แล้วหรือยัง และอีกหลายๆ คำถามที่บรรณารักษ์ ผู้บริหารห้องสมุด และสำนักวิทยบริการต่างๆ ต้องการคำตอบที่ชัดเจนLibrary 2.0 กล่าวให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือรูปแบบหนึ่งของการพัฒนาเว็บไซต์บริการ/ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของห้องสมุด สำนักวิทยบริการต่างๆ ที่เน้นการโต้ตอบกับผู้ใช้ การทำงานร่วมกัน ตลอดจนการนำเสนอด้วยสื่อมัลมีเดียที่เหมาะสม ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงนับเป็นการให้บริการที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตนั่นเอง การให้บริการที่เน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลางค่อนข้างจะเข้าใจยากไปบ้าง แต่เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นก็คงจะหมายถึงการจัดทำเว็บไซต์ที่ผู้ใช้ไม่ได้เพียงแต่เข้ามาดูว่าเว็บห้องสมุดมีอะไรบ้าง ใครเป็นผู้บริหาร หน้าตาอย่างไร และเปิด/ปิดเมื่อไร แต่ผู้ใช้ควรมีส่วนร่วมในการติชม แนะนำบริการ และสร้างสรรค์เนื้อหาร่วมกับบุคลากรของห้องสมุดได้ด้วย โดยการให้สิทธิ์นี้ก็คงแล้วแต่นโยบายของหน่วยงานเอง ตัวอย่างง่ายๆ ในการก้าวสู่ห้องสมุด 2.0 ก็คือ การพัฒนาเว็บไซต์ที่เน้นสื่อมัลติมีเดีย และเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าต่อผู้ใช้ มากกว่าข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมา รูปแบบการให้บริการ โครงสร้างองค์กร เวลาเปิด/ปิด ดังนั้นบุคลากรของห้องสมุดจะต้องเปิดใจร่วมกันสร้างสรรค์ความรู้ที่ตนมีความเชี่ยวชาญเผยแพร่ และให้บริการในเชิงรุกอย่างแท้จริง ใครถนัดฐานข้อมูลออนไลน์ ก็ไ่ม่ใช่นั่งรอให้ผู้ใช้เข้ามาขอใช้บริการ แต่ควรจะรุกหาผู้ใช้โดยการศึกษาถึงความต้องการ เช่น ปัจจุบันมีเนื้อหาใด หรือหัวข้อใดที่กำลังกล่าวถึง ก็นำเนื้อหาหรือหัวข้อดังกล่าวมาสืบค้นเบื้องต้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ และสรุปเป็นข้อมูลหรือสาระความรู้ที่เหมาะสมเผยแพร่ให้ทันต่อสถานการณ์ หรือการเปิดช่องทางสื่อสาร ถามตอบแแบบเรียวไทม์ (Real time) ด้วยบริการ ICQ, MSN ระหว่างผู้ใช้ห้องสมุดกับบุคลากรห้องสมุด ซึ่งปัจจุบันก็เห็นชัดว่าบุคลากรห้องสมุดจริงๆ ก็เล่น ICQ หรือ MSN กันระหว่างกันอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้มาถาม/ตอบอย่างเป็นทางการนั่นเอง นอกจากนี้ยังสามารถเปิดเว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้ใ้ช้ที่มีความสนใจในการขีดๆ เขียนๆ ร่วมกันสร้างสรรค์เนื้อหาได้อีกด้วย เช่น การเปิดเว็บไซต์ Blog หรือ Wiki ของห้องสมุด อย่างไรก็ตามการดำเนินการในรูปแบบนี้ นับว่าทำได้ยากมากในประเทศไทย ด้วยเหตุผลความปลอดภัยของระบบ และมารยาทของผู้เขียนเอง อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยี CMS (Content Management System) และ Blog ทำให้การนำเสนอเนื้อหาจากสมาชิก หรือผู้ใช้ไม่เสี่ยงมากนัก โดยการเปิดระบบเขียนหรือแสดงความคิดเห็นที่ต้องผ่านการตรวจสอบด้วยผู้ดูแลระบบ หรือจะใช้บริการฟรี Blog เช่น wordprees.com, blog.com ก็ได้ครับ นอกจากนี้เว็บไซต์ห้องสมุด ควรรองรับเทคโนโลยี RSS ทั้งผู้ให้และผู้รับ กล่าวคือ ทุกเนื้อหาในเว็บไซต์ควรสามารถแปลงเป็น RSS ได้ทันที และอนุญาตให้หน่วยงานอื่นหรือผู้ใช้อื่นมาติดตามข่าวสารผ่าน RSS News ได้ทันที หรือจะดึงข้อมูล RSS จากแหล่งอื่นมาเผยแพร่ก็ได้ ทั้งหมดนี้เป็นความสามารถเด่นของ CMS และ Blog อยู่แล้วครับ เนื้อหาหมวดหนึ่งที่เว็บไซต์ห้องสมุดมักจะต้องเผยแพร่ก็คือ หนังสือแนะนำ วารสารแนะนำ หรือสื่อโสตฯ ใหม่ๆ ซึ่งกรณีนี้ก็อาจจะเพิ่มความสามารถแนะนำคำค้นโดยผู้ใช้ที่เรียกว่า Tag ก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้คำค้น หรือ Subject heading ของสื่อนั้นๆ เพิ่มขึ้นและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้้นห้องสมุด 2.0 ไม่ใช่เพียงแค่รอให้ผุ้ใช้มาสืบค้น แต่จะต้องรุกหาผู้ใช้ด้วย สร้างช่องทางแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุด เช่น
ขอขอบคุณ http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=1751&Itemid=132 เอื้อเฟื้อข้อมูล |
บริการแนะนำ (Guidance Services) / Web & Library 2.0 (สรุปการเรียนวันที่ 28/08/54)
บริการแนะนำ (Guidance Services)
มีลักษณะเหมือนกับบริการสอนการใช้ แต่มีความแตกต่างกันคือ เน้นการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า ซึ่งห้องสมุดส่วนใหญ่จะไม่ค่อยนิยมให้บริการ แต่มักจะพบเห็นได้ในห้องสมุดประชาชนที่มีให้บริการ
ประเภทของบริการแนะนำ
บริการแนะนำการอ่าน เป็นการช่วยเหลือสารสนเทศที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือแนะนำการเลือกสารสนเทศ โดยบรรณารักษ์ หรือ บรรณารักษ์อ้างอิงคอยให้บริการ หรือภาพยนต์สั้นแนะนำหนังสือก็ได้ เพื่อดึงความสนใจให้กับผู้ใช้ หรือแบบสอบถามเพื่อเลือกหนังสือให้ก็ได้
บริการการอ่านบำบัด เป็นการบริการเพื่อปรับปรุง และพัฒนาจิตใจ ความคิด เนื่องจากหนังสือเป็นการส่งเสริมที่สามารถผ่อนคลายอารมณ์ ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ช่วยฟื้นฟูและพัฒนาด้านจิตใจได้ ซึ่งมักจะต้องทำควบคู่กับผู้รู้ด้านจิตวิทยา
บริการปรึกษาแนะนำทำรายงาน ช่วยเหลือแนะนำแนวทางในการค้นคว้า และการทำรายงานในแบบฟอร์มที่ถูกต้องทางวิชาการ พบมากในห้องสมุดโรงเรียน และห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
บริการช่วยเหลือการวิจัย เป็นบริการหนึ่งที่กำหนดให้มีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่ต้องการ เนื่องจากมีการผลิตสารสนเทศมากมายตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้ตามสารสนเทศได้ไม่ครอบคลุมทั้งหมด ในขณะที่บรรณารักษ์สามารถรู้แนวทางการได้มา และการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ
บริการอื่นๆ เป็นบริการที่ห้องสมุดที่จะเสริมเพื่อให้ผู้ใช้มีการใช้งานมากขึ้น
Web/Library 2.0
เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีห้องสมุดที่ต้องตอบสนองต่อการใช้ผู้ใช้ห้องสมุดใรปัจุจบันที่เข้ามาใช้บริการแบบออนไลน์อย่างมากขึ้น โดยอยู่มุมไหนก็ได้ของโลกโดยไม่ต้องเดินเข้าไปห้องสมุดเพื่อขอเข้าไปใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันนี้ห้องต้องเปลี่ยนแปลงการใช้บริการ เพียงไม่ใช่แค่ที่อ่านหนังสืออย่างเดียวอีกแล้ว โดยที่ Web/Library 2.0 เป็นรูปแบบใหม่ของบริการห้องสมุด ซึ่งจะมีลักษณะคือ
- เป็นเว็บแห่งการมีส่วนร่วม
- มุ่งเน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างมีวัตถุประสงค์และต่อเนื่อง
- ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วมกับการให้บริการของห้องสมุดผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เช่น User Comment, Tag และ Rating Feed User-created Content
ซึ่งที่มาของแนวคิดของการบริการนี้มาจาก พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยน พัฒนาการ IT ตามกฎของพาเรโต” (Pareto Principle) /"80/20 rule" และความคิดแบบเศรษฐศาสตร์หางแถว(ยาว)(The Long Tail) จึงทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี Web 2.0 และเกิดเป็น Library 2.0 ในที่สุด
โดยองค์ประกอบของ Library 2.0 ประกอบไปด้วย
1. มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ผู้ใช้ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเนื้อหาและบริการให้สอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้
2. จัดให้มีการใช้ทรัพยากรในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น วิดีโอ และสื่อเสียง ทั้งนี้ในอนาคตห้องสมุดแบบกายภาพจะลดลง และห้องสมุดเสมือนจะมีบทบาทมาก
3. สร้างสังคมการสื่อสาร จัดให้มีการสื่อสาร 2 ทางระหว่างผู้ใช้ และผู้ใช้ และ ผู้ใช้กับผู้บริการ ทั้งการสื่อสารทางเดียว (asynchronous) เช่น wikis และ โต้ตอบ (synchronous)เช่น IM
4. การสร้างสรรค์สังคม ห้องสมุดเป็นสถาบันบริการสาธารณะ จึงต้องมีความเข้าใจสภาพการปรับเปลี่ยนของสังคมที่ให้บริการ แต่ไม่ใช่บรรณารักษ์เท่านั้น ผู้ใช้จะต้องมีส่วนร่วมด้วยในการปรับเปลี่ยน โดยต้องคำนึงต่อสังคมส่วนรวม พร้อมๆ กับความต้องการส่วนบุคคล
โดยรูปของการบริการต่างๆของ Web/Library 2.0 มักจะใช้เครื่องมือต่างๆที่ใช้งานต่าง เช่น
· ใช้ RSS, Wikis และ Blogs ในการพัฒนาบุคลากร แจ้งข่าววิจัย
· การพัฒนา extension เพื่อให้ผู้ใช้ tag หนังสือได้โดยตรงจาก Library Catalog ของ เช่น PennTags ของ University of Pennsylvania
· การใช้เทคโนโลยี web 2.0 ที่ให้บริการอยู่ในอินเตอร์เน็ตมาใช้ เช่น
– ใช้ Flickr โดยเปิด account ของห้องสมุด การสร้าง group ใน Flickr เพื่อสร้าง digital collection เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย/องค์กร ของ National Library of Australia เช่น Picture Australia,
– หรือการ link authority record ของ Library Catalog กับ Wikipedia เช่น Biz Wiki ของห้องสมุด Ohio University
– หรือการใช้เครือข่ายทางสังคมต่างๆ เช่น Facebook, Twitter เป็นต้น
• การใช้เวอร์ชวลเรียลลิตี (virtual reality) เป็นสภาพแวดล้อมที่จำลองโดยคอมพิวเตอร์ สภาพแวดล้อมในความเป็นจริงเสมือนส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สิ่งที่เกี่ยวกับการมองเห็น แสดงทั้งบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์แสดงผลสามมิติ แต่การจำลองบางอันยังรวมไปถึงข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสด้วย เช่น เสียงจากลำโพงหรือหูฟัง เป็นต้น
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
บริการยืมระหว่างห้องสมุดและสถาบัน / บริการข่าวสารทันสมัย / บริการนำส่งเอกสาร (สรุปการเรียนวันที่ 17/08/54)
บริการยืมระหว่างห้องสมุดและสถาบัน (Inter Library Loan-ILL)
เป็นบริการของสถาบันบริการสารสนเทศ ที่ร่วมมือกันให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบัน หรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่งอื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกัน และร่วมกันกำหนดระเบียบต่างๆในการใช้บริการร่วมกัน โดยปัรัชญาของการให้บริการนี้ ได้ยึดหลักการ 3 อย่างคือ ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถตอบสนองความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ทั้งหมด ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการจัดบริการยืมระหว่างห้องสมุดและสถาบัน และความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ต้องสามารถจัดการให้สามารถสนองตอบได้ให้ดีที่สุด
โดยการยืมระหว่างห้องสมุดและสถาบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้วิจัยและการศึกษาในเชิงลึก โดยยึดถือหลักการให้ยืมสำหรับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ห้องสมุด เกิดการบริการแก่ผู้ใช้ที่เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ปริมาณการลงทุนคงที่ หรือให้บริการคงเดิมในราคาที่ถูกกว่าเดิมหรือลงทุนน้อยลง ซึ่งความสำคัญของบริกานี้คือ ขยายความสามารถในการเข้าถึง ลดปัญหาการมีวัสดุที่ไม่เพียงพอ ลดช่องว่างระหว่างความไม่เท่าเทียม ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทาง มีการใช้สารสนเทศที่คุ้มค่าช่วยประหยัดงบประมาณเพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน โดยเปลี่ยนเป็นการยืมแทนการซื้อ ช่วยให้เข้าถึงสารสนเทศที่หายากที่มีเฉพาะบางห้องสมุดเท่านั้น สร้างความเข้มแข็ง การจัดการบริการในกลุ่มห้องสมุดและเพิ่มความก้าวหน้าอีกด้วย
ซึ่งลักษณะของบริการยืมระหว่างห้องสมุดและสถาบัน จะประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้คือ การยืม และการให้ยืม
ซึ่งมีองค์ประกอบการบริการยืมระหว่างห้องสมุด คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ การสร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการยืมระหว่างห้องสมุด แบบฟอร์มบริการยืมระหว่างห้องสมุด และการสร้างสมาชิกเครือข่าย
โดยมีการการดำเนินงานยืมระหว่างห้องสมุด อยู่สองรูปแบบคือ การดำเนินงานด้วยระบบมือ และการดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ
บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service-CAS)
บริการนำส่งเอกสาร (Document delivery service)
บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service-CAS)
เป็นบริการที่มีวัตถุประสงค์จัดทำขึ้นเพื่อจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งที่อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ สิ่งไม่ตีพิมพ์ ให้บริการจัดส่งในรูปแบบกระดาษ ฉบับเต็ม ย่อส่วน หรือฉบับอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ เป็นงานบริการที่มีค่าใช้จ่ายในการให้บริการ โดยในการให้บริการนี้ ผู้ให้บริการจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับลิขสิทธ์ที่ผู้บริการนำส่งจะต้องขออนุญาตผู้มีสิทธิในผลงาน และเสียค่าลิขสิทธ์ให้ถูกต้องก่อนทำสำเนาถึงผู้ใช้ด้วย ต่อมาเริ่มมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริการในการจัดทำบริการเสริมการใช้ฐานข้อมูล เช่น Injenta จะให้บริการส่งบทความใหม่ทุกอาทิตย์ในหัวข้อที่ผู้ใช้สนใจ แจ้งทาง e-mail หรือ Emerald จัดทำบริการจดหมายข่าว TOC (Table of content services) และ แจ้งบทความใหม่ในเรื่อง/หัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด แจ้งทาง e-mail และ Google จัดบริการ Alert แจ้งบทความใหม่ในเรื่อง/หัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด แจ้งทาง e-mail
บริการข่าวสารทันสมัยจมีประโยชน์ เพื่อตอบสนอง วัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้คือ ให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ และตามความต้องการต่อผู้รับจัดส่งทันที และจัดส่งให้อย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
ซึ่งการจัดส่ง หรือเผยแพร่บริการสามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้ ผ่านทางเอกสาร ผ่านคอมพิวเตอร์ และผ่านการสื่อสารต่างๆ :ซึ่งในปัจจุบันนี้ ได้มีการนำเทคโนโลยี RSSมาใช้ ซึ่งจุดเด่นของ RSS คือผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆเพื่อดูว่ามีข้อมูลอัปเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัปเดทไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัปเดทใหม่บนเว็บไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้สามารถรับข่าวสารอัปเดทใหม่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์ด้วย บริการนำส่งเอกสาร (Document delivery service)
เป็นบริการการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่ และ ยังไม่ได้เผยแพร่ และ จัดส่งในรูปแบบกระดาษ หรือ วัสดุย่อส่วน หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ และมีการคิดค่าบริการสำหรับผู้ใช้ด้วยบริการ นี้ เกี่ยวกับลิขสิทธ์ที่ผู้บริการนำส่งจะต้องขออนุญาตผู้มีสิทธิในผลงาน และเสียค่าลิขสิทธ์ให้ถูกต้องก่อนทำสำเนาถึงลูกค้าด้วย การนำส่งเอกสารเริ่มมาจากการยืมระหว่างห้องสมุด มีความเหมือนกันในลักษณะการนำสารสนเทศจากภายนอกสถาบันมาบริการให้ผู้ใช้ มีความแตกต่างตรงที่บริการนำส่งเอกสารเป็นบริการที่ควบคุมกระบวนการเตรียม จัดหา และผลิตสารสนเทศตามคำขอของผู้ใช้ นอกจากนี้บริการนำส่งเอกสารเป็นที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในการจัดเก็บสืบค้น บอกแหล่งสารสนเทศ ทำสำเนา และส่งสำเนาเอกสาร ได้รวดเร็วกว่าบริการยืมระหว่างสถาบันสารสนเทศ และบริการยืมระหว่างห้องสมุดจะใช้เวลาในการดำเนินงานนานกว่าผู้ใช้อาจเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่าย
ซึ่งขั้นตอนการจัดส่งสารสนเทศ จะประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้ คือ
1.การรับคำขอ
2.การตรวจสอบแหล่งที่มีสารสนเทศ ในกรณีที่ผู้ใช้บริการไม่ได้ระบุแหล่งที่มีสารสนเทศ ผู้ให้บริการจะดำเนินการตรวจสอบ จากคู่มือ ฐานข้อมูลต่างๆ
3.การส่งคำขอไปยังแหล่งที่มีสารสนเทศ ทำได้โดยการส่งผ่านระบบออฟไลน์ การส่งทางโทรสาร การส่งผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
4.การส่งสารสนเทศไปยังผู้ใช้บริการ ปรกติจะทำการแจ้งให้ผู้ใช้มารับสารสนเทศ หรือส่งทางไปรษณีย์หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การนำส่งต้นฉบับสารสนเทศให้ผู้ใช้ที่เครื่องปลายทาง หรือนักสารสนเทศอาจจัดส่งต้นฉบับสารสนเทศในสื่อประเภทดิสเกตต์ หรือการส่งโดยการถ่ายโอนข้อมูล
ซึ่งแหล่งบริการจัดส่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1.สถาบันบริการสารสนเทศและศูนย์สารสนเทศ ซึ่่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
2.ตัวแทนจัดหาและจัดส่งสารสนเทศในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการค้าสารสนเทศเชิงพาณิชย์
วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
สรุปการสัมมนา บริการห้องสมุดรูปแบบใหม่ โดย อ.บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ (24/07/54)
มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรม
Z39.50
mercury z39.50 clients 8 คือ catalogue module ของระบบ innopac
ในห้องสมุด มช. ดังนั้นหากต้องหารลงรายการบรรณานุกรมหนังสือ
ประเด็นน่าสนใจของ z39.50
1.ระบบห้องสมุดที่จัดหา/จัดวื้อ พัฒนา ไม่มีโมดูล z39.50
2.ระบบห้องสมุดที่ใช้อยู่มีดมดูล z39.50 แต่ห้องสมุดไม่ทราบ ทั้งการเปิดการใช้งาน การใช้งาน
3.ห้องสมุด/บรรณารักษ์ ไม่รู้จัก z39.50 มาก่อน
4.หนังสือส่วนมากของห้องสมุดดเป็นภาษาไทย ซึ่งระบบห้องสมุดที่เปิดข้อมูลที่เปิดโมดูล z39.50
ของประเทศไทย มีน้อย หรือ ไม่เปิดระบบให้บริการ
z39.88 ,
OAI-PHM, Embeded Metadata
กับแลกเปลี่ยนรายการบรรณานุกรมจากหนังสือ/ทรัพยากร สู่ Application
การพัฒนาเว็บแยก 2 กรณี
1.ทำมือ... สร้างหน้า .php, .html, .htm
2.พัฒนาด้วย s/w เช่น CMS - Joomal , Drupal
ตัวอย่างทำหน้าเว็บแนะนำภาควิชา 1 หน้า จะได้ไฟล์ about.html
พิมพ์เนื้อหาแนะนำภาค 4 พารากราฟ
มีรูปภาพ .jpg ประกอบ 3 ภาพ
มีลิงก์ให้ดาวน์โหลดไฟล์แนะนำภาค 2 ไฟล์
.ppt
.pdf
เว็บที่ทำต้องให้ Google Search Engine เก็บข้อมูลได้ ไฟล์ประกอบการทำเว็บมีกี่ไฟล์
1 html
3 jpg
1 ppt
1 pdf
ทุกไฟล์ต้องฝัง Metadata ที่จำเป็น
// 1 html ฝัง Web Meta Tag
----------------เป็นการเขียน / ใส่ code เอง
---- < meta name = "keywords" content = "คำค้น" />
----< meta name = "authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
----< meta name = "description" content = "คำอธิบาย" />
// 3 jpg ฝัง IPTC
// 1 ppt ฝัง Document Metadata
------powerpoint ---> start ----> prepare ---> properties ---> ลงรายการ catalog ทั้งหมด
// 1 pdf ฝัง PDF Metadata
-----Adobe Acrobat Professional ----> file ---> properties
แล้วแต่ละชุด metadata จะลงรายกสรอย่างไร ( มาตรฐานลงรายการ )
ขยายทุกไฟล์ โดยเฉพาะ .html ให้รองรับมาตรฐาน Z39.5 ผ่าน Z39.88
< meta name = "keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "description" content = "คำอธิบาย" />
------- Web Meta Tag ให้ข้อมูลกับ Search Engine
< meta name = "DC.title" content = "คำค้น" />
< meta name = "DC.authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "DC.description" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "DC.keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "DC.cretedata" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
--------DC Meta Tag ให้ข้อมูลบรรณานุกรมกับ Apps เช่น Reference
Manager ( EndNotes, Zotero, JabRef, Refwork ..) ผ่านมาตรฐาน Z39.88
< meta name = "Citation_title" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_description" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_Keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_Createdate" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_PublishDate" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_pdf_url" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_jourjal_title" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_Volume" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_issue" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_firstpage" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_lastpage" content = "คำอธิบาย" />
-------------Citation Meta Tag เป็นชุดใหม่เพื่อให้ข้อมูลบรรณานุกรมเชิงผลงาน
วิชาการกับ Gpoogle Scholar
การเกิดของ Citation Meta Tag เพราะปัญหาจาก OAI-PHM ที่ทำได้ยาก
การเพิ่ม Webometric Ranking
Size
Visibility
Rich Files
Scholar
ซอฟต์แวร์พัฒนา IR
eprints
Dspace
MediaTUMS
Omeka
สรุปการสัมมนา บริการห้องสมุดรูปแบบใหม่ โดย อ.บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ (23/07/54)
Library Ternd : สารสนเทศรูปแบบใหม่ในห้องสมุด
1. Cloud Computing คือ การประมวลผลแบบกลุ่มก้อน ทีผู้ใช้ไม่ต้องจำเป็นที่จะเก็บข้อมูลไว้กับตนเอง แต่สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลได้จะทางระบบเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วโลกผ่านทางนำทางของอินเตอร์เน็ตที่จะนำพาไปยังเส้นทางที่ว่างเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างดาย ไม่ว่าจะอยู่ใดก็ตามบนโลกของให้มีอินเตอร์เน็ตก็เข้าได้ แต่ถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ตก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาใช้งานได้นั่นเอง เหมือนกับเหตุการณ์ Black April ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 21 เมษายน 2554ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเกิดจากระบบไฟฟ้าดับทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา จึงทำให้ยักษ์อย่างอเมริกาเกิดปัญหาระบบเครือข่ายต่างล่มโดยมิได้นัดหมาย ที่เกิดความโกลาหลในอุตสาหกรรมไอซีที ไปพอสมควร ไม่เพียงแต่ในต่างประเทศ ระบบเครือข่ายในประเทศไทยเกิดจอมืดไปร่วมสามชั่วโมง ยักษ์ใหญ่แห่งธุรกิจค้าปลีกออนไลน์อย่าง Amazon ได้ออกมาชี้แจงทางเหตุทางเทคนิคที่ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้ บนบริการ Elastic Compute Cloud หรือ EC2 ส่งผลให้บริการจากหลายบริษัทไม่สามารถใช้งานได้ อาทิเช่น Foursquare, Hootsuite, Reddit และ Quoro โดยที่ OCLC หรือ (Online Computer Library Center) ที่เป็นเครือข่ายทางห้องสมุดที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็ได้นำการประมวลผลแบบกลุ่มก้อน หรือ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้โดยการนำเอาห้องสมุดทั้งหมดมาเชื่อมต่อกัน และนำ Cloud ILS และ Cloud OPAC มาใช้ร่วมกัน
ซึ่ง Cloud Computing แบ่งการใช้งานได้ สามประเภท คือ
1.1 Cloud Service แยกตามกลุ่มผู้ใช้ มีดังนี้คือ
- Cloud ระดับองค์กร นั่นคือ cloud library
- Cloud ระดับบุคคล/บริการ เช่น Gmail, Facebook, Meebo
- Cloud ผสม เช่น Dropbox เป็นบริการเรียกใช้ File งานต่างๆที่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตสามารถทำงานได้อย่างปกติในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์เก็บข้อมูล โดยปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะให้บริการทั้งแบบองค์กรและบุคคล
1.2 Cloud Service แยกตามการให้บริการ มีดังนี้คือ
- Public Cloud เป็นการให้บริการแบบสาธารณะ เช่น Google
- Pivate Cloud เป็นการให้บริการแบบระดับส่วนบุคคล เช่น Facebook Gmail เป็นต้น
- Hybrid Cloud การให้บริการแบบ2ทางเลือก หรือแบบผสมทั้งแบบระดับองค์กรและส่วนบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นไปทางระบบขององค์กรต่างๆ สำหรับในประเทศไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นองค์กรที่มีการใช้ Public Cloud และ Pivate Cloud เป็นแบบผสม
1.3 Cloud Service แยกตามประเภทของเทคโนโลยี มีดังนี้คือ
SaaS (Software as a Service) ซึ่งเป็นการใช้การโปรแกรมต่างๆ บนเว็ปตามปกติโดยที่ไม่ต้องติดตั้งเครื่องมือใดๆเลย และยังสามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย อีกไม่ได้ใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ของตน และสามารถเรียกใช้งานได้เมื่อไรก็ได้ในขณะที่เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมาก
IaaS (Infrastructure as a Service) เป็นการใช้งานแบบ Virtual Machines (VMs) มีบริการต่างๆสนับสนุนการทำงานครบถ้วน เช่น Amazon Elastic Compute Cloud (EC2) , SunGrid, Gogrid
PaaS (Platform as a Service) คือ เครื่องมือสำหรับการพัฒนา โปรแกรมประยุกต์บน cloud computing เช่น Google App Engine, Heroku, Mosso, Engine Yard, Joyent, force.com (Sale force platform)
2. Mobile Device คือ การบริการบนอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่น โทรศัพท์ถือมือ ประเภท Smart phone, Tablet PC, Netbook หรือ eReader โดยที่การประยุกต์ใช้กับงานบริการของห้องสมุดได้นั้น จะต้องมีการทำการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ก่อนว่ามีการใช้บริการรูปแบบใดผ่านโมบายบ้างใช้ผ่านอุปกรณ์พกพาอะไรเป็นสำคัญ เพื่อให้มุมมองในภาพรวมก่อน ซึ่งมีเว็บสถิติของประเทศไทย หลายตัวที่ช่วยประเมินถึงพฤติกรรมผู้ใช้ว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร เช่น www.truehits.net, http://tru Platform as Serviceehit Platform as Services.net และ www.google.com/analytics
ซึ่งระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์พกพาต่างๆนั้นก็มีความสำคัญที่จะเป็นตัวบอกการให้บริการด้วย ซึ่งแบ่งตามประเภทได้ดังนี้ คือ
Smart Phone : Java, Dabian
Tablet : Android
eReader : IOS
Netbook : Windows
3. Digital Content & Publishing คือ การปรับเปลี่ยนมาเป็นวิธีการสร้างตำราให้เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิค เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการลดปริมาณงบประมาณในการจัดซื้อสารสนเทศ อีกทั้งเป็นการสนับสนุนบุคลากรภายในองค์กรให้แสดงศักยภาพหรือความสามารถของตนเอง และเป็นการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานอีกด้วย ซึ่งการทำเอกสารส่วนมักจะทำกันในส่วนของ หนังสืออิเล็กทรอนิค หรือ E-book
ซึ่งหนังสืออิเล็กทรอนิค หรือ E-book dHคือ หนังสือ ที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
การทำ E-book ให้มุ่งความสำคัญไปที่ 3 ส่วน คือ
1. การได้มาของเนื้อหา
2. กระบวนการผลิตและรูปแบบ
3. ลิขสิทธิ์ต้นฉบับและการเผยแพร่ (ลิขสิทธิ์ของต้นฉบับ, ลิขสิทธิ์ของ Ebook)
ซึ่งรูปแบบของ File ของ Ebook ได้แก่
.doc
.pdf
Flip ebook เช่น Flip Album เป็นอัลบั้มภาพ อาจไม่สามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้
Flash ebook สามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้
ePublishing (โปสเตอร์, แผ่นพับ อิเล็กทรอนิกส์)
.ePub (Sony reader, Kindle, ipad, iphone)
Digital multimedia book จะโชว์เป็นวิดีโอ จากภาพ
4. Crosswalk Metadata คือ กลุ่มของเมตาดาต้ามากกว่า 1 ประเภท ซึ่งในปัจจุบันเมตาดาต้าได้มีการผสมผสานกันเกือบทั้งหมด ดังนั้นบรรณารักษ์ หรือผู้ทำงานในสถาบันสารสนเทศ จึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเมตาดาต้าให้มากที่สุด โดยที่ตัวอย่างของเมตาดาต้า มีดังต่อไปนี้คือ
MARC
MARCML New of library ข้อแตกต่างกับ MARC คือไม่มีพวก Subfield
Dublin core
ISAD (g) มาตรฐานสำหรับกลุ่มผู้ที่ทำจดหมายเหตุแบบดิจิตอล เช่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร์
CDWA มาตรฐานในงานกลุ่มพิพิธภัณฑ์
RDF มาตรฐานในงานจัดการความรู้
OWL มาตรฐานในงาน
MODs (คล้ายกับ DC แต่มี Element มากกว่า ใช้ในการทำ Digital Collection)
METs (คล้ายกับ DC แต่มี Element มากกว่า ใช้ในการทำ Digital Collection)
PDF Metadata (ในกลุ่มสายงานมหาวิทยาลัย)
Doc Metadata (ในกลุ่มสายงานมหาวิทยาลัย)
EXIF (ใช้กับงานประเภทรูปภาพ,รูปถ่าย Digital ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักข่าว)
XMP (ใช้กับงานประเภทรูปภาพ,รูปถ่าย Digital ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักข่าว)
IPTC
5. Open Technology
Z39.5 –การแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือผ่าน ILS โดยสามารถทำการดูดบรรณานุกรมมาได้อย่างอัตโนมัติ
ILS <—–> ILS ระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุด
Z39.88 ช่วยให้ข้อมูลบรรณานุกรมกับ Reference manager
ILS <—–> Apps ระหว่างห้องสมุดกับ other application that be new create เน้นในด้านการเพิ่มลำดับเว็บ / จัดลำดับเว็บ Webometric
OAI-PMH มีแนวคิดมาจากการทำ one-search คือ การสืบค้นได้ทุกอย่างจากช่อง search เท่านั้น
ILS or DBs <—–> DBs, Apps
Linked Data keyword ที่ได้จากการทำเหมืองข้อมูลจากOAI-PMH จะถูกนำมาใช้ในด้านนี้ต่อ –> Semantic Web/Web 3.0
Web 1.0 มีรูปแบบคือ ให้ใครคนใดคนหนึ่งดูแลเว็บ แล้วเราอ่านอย่างเดียว
Web 2.0 มีรูปแบบคือ เรามีสิทธิ์สร้างเว็บขึ้นมาเองได้
Web 3.0 หัวใจสำคัญคือคำว่า Semantic สามารถป้อนคำค้นเป็นประโยคได้/เว็บเชิงความหมาย เช่น กูเกิ้ลรู้ว่าคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมคือ พืช สวน ไร่นา ทำเว็บไซต์ให้ค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับคำค้น โดยเอามาจาก keyword (link data)
Metadata คือ ข้อมูลที่ใช้กำกับและอภิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มของข้อมูลอื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บัตรในห้องสมุดสำหรับสืบค้นหนังสือ โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชื่อหนังสือและตำแหน่งของหนังสือที่ต้องการหา ซึ่งหนังสือเป็นข้อมูลที่ต้องการ และบัตรเป็นข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของข้อมูลนั้น
Bibliography เป็นรายการอ้างอิงและรายการทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ ที่ผู้เขียนรายงานได้ศึกษาค้นคว้าทั้งหมด แต่บางรายการไม่ได้นำมาอ้างอิงในเนื้อหา
6. Data & Information Mining/Visualization
Data & Information Mining ระบบฐานข้อมูลต้องไม่จบแค่ผลลัพธ์การค้น แต่มันต้องบอกอะไรมากกว่านั้น เช่นบอกว่า เจอทั้งหมดกี่เล่ม ปีไหนบ้างมีกี่เล่ม จะมีโปรแกรมช่วยนับให้เรา
Visualization มีหนังสือที่เขียนโดยผู้เขียนคนนี้กี่เรื่องๆ แล้วมีเส้นเชื่อมโยงระหว่างคน 2 คนนี้ว่าเคยเขียนหนังสือเล่มเดียวกันด้วย เช่น http://www.boliven.com/
7. Green library เป็นการที่ช่วยลดพลังงานในห้องสมุดโดยมีปรับปรุงส่วนต่างๆของห้องสมุดให้ลดพลังงานมากที่สุด โดยยึดในสิ่งต่อไปนี้คือ
Green library <– Global warming …Green Building
Green library <– Global warming …Green ICT คู่กับ Cloud
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)