วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปการสัมมนา บริการห้องสมุดรูปแบบใหม่ โดย อ.บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ (24/07/54)

มาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรม

Z39.50
mercury z39.50 clients 8 คือ catalogue module ของระบบ innopac 
ในห้องสมุด มช. ดังนั้นหากต้องหารลงรายการบรรณานุกรมหนังสือ
ประเด็นน่าสนใจของ z39.50
1.ระบบห้องสมุดที่จัดหา/จัดวื้อ พัฒนา ไม่มีโมดูล z39.50
2.ระบบห้องสมุดที่ใช้อยู่มีดมดูล z39.50 แต่ห้องสมุดไม่ทราบ ทั้งการเปิดการใช้งาน การใช้งาน
3.ห้องสมุด/บรรณารักษ์ ไม่รู้จัก z39.50 มาก่อน
4.หนังสือส่วนมากของห้องสมุดดเป็นภาษาไทย ซึ่งระบบห้องสมุดที่เปิดข้อมูลที่เปิดโมดูล z39.50 
ของประเทศไทย มีน้อย หรือ ไม่เปิดระบบให้บริการ

z39.88 ,
OAI-PHM, Embeded Metadata
กับแลกเปลี่ยนรายการบรรณานุกรมจากหนังสือ/ทรัพยากร สู่ Application

การพัฒนาเว็บแยก 2 กรณี 
1.ทำมือ... สร้างหน้า .php, .html, .htm
2.พัฒนาด้วย s/w เช่น CMS - Joomal , Drupal

ตัวอย่างทำหน้าเว็บแนะนำภาควิชา 1 หน้า จะได้ไฟล์ about.html
พิมพ์เนื้อหาแนะนำภาค 4 พารากราฟ
มีรูปภาพ .jpg ประกอบ 3 ภาพ
มีลิงก์ให้ดาวน์โหลดไฟล์แนะนำภาค 2 ไฟล์
.ppt
.pdf

เว็บที่ทำต้องให้ Google Search Engine เก็บข้อมูลได้ ไฟล์ประกอบการทำเว็บมีกี่ไฟล์
1 html
3 jpg
1 ppt
1 pdf

ทุกไฟล์ต้องฝัง Metadata ที่จำเป็น
// 1 html ฝัง Web Meta Tag 
----------------เป็นการเขียน / ใส่ code เอง 
 ---- < meta name = "keywords" content = "คำค้น" />
 ----< meta name = "authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
 ----< meta name = "description" content = "คำอธิบาย" />

// 3 jpg ฝัง IPTC
// 1 ppt ฝัง Document Metadata
------powerpoint ---> start ----> prepare ---> properties ---> ลงรายการ catalog ทั้งหมด
// 1 pdf ฝัง PDF Metadata
-----Adobe Acrobat Professional ----> file ---> properties 

แล้วแต่ละชุด metadata จะลงรายกสรอย่างไร ( มาตรฐานลงรายการ )

ขยายทุกไฟล์ โดยเฉพาะ .html ให้รองรับมาตรฐาน Z39.5 ผ่าน Z39.88

< meta name = "keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "description" content = "คำอธิบาย" />
------- Web Meta Tag ให้ข้อมูลกับ Search Engine

< meta name = "DC.title" content = "คำค้น" />
< meta name = "DC.authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "DC.description" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "DC.keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "DC.cretedata" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
--------DC Meta Tag ให้ข้อมูลบรรณานุกรมกับ Apps เช่น Reference 
            Manager ( EndNotes, Zotero, JabRef, Refwork ..)  ผ่านมาตรฐาน Z39.88
< meta name = "Citation_title" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_authors" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_description" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_Keywords" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_Createdate" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_PublishDate" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_pdf_url" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_jourjal_title" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_Volume" content = "คำอธิบาย" />
< meta name = "Citation_issue" content = "คำค้น" />
< meta name = "Citation_firstpage" content = "หน่วยงาน/ผู้สร้างสรรค์" />
< meta name = "Citation_lastpage" content = "คำอธิบาย" />
-------------Citation Meta Tag เป็นชุดใหม่เพื่อให้ข้อมูลบรรณานุกรมเชิงผลงาน
วิชาการกับ Gpoogle Scholar

การเกิดของ Citation Meta Tag เพราะปัญหาจาก OAI-PHM ที่ทำได้ยาก

การเพิ่ม Webometric Ranking 
 Size
 Visibility
 Rich Files
 Scholar
ซอฟต์แวร์พัฒนา IR
eprints
Dspace
MediaTUMS
Omeka

สรุปการสัมมนา บริการห้องสมุดรูปแบบใหม่ โดย อ.บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ (23/07/54)


Library Ternd : สารสนเทศรูปแบบใหม่ในห้องสมุด


1. Cloud Computing คือ การประมวลผลแบบกลุ่มก้อน ทีผู้ใช้ไม่ต้องจำเป็นที่จะเก็บข้อมูลไว้กับตนเอง แต่สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลได้จะทางระบบเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วโลกผ่านทางนำทางของอินเตอร์เน็ตที่จะนำพาไปยังเส้นทางที่ว่างเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างดาย ไม่ว่าจะอยู่ใดก็ตามบนโลกของให้มีอินเตอร์เน็ตก็เข้าได้ แต่ถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ตก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาใช้งานได้นั่นเอง เหมือนกับเหตุการณ์ Black April ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 21 เมษายน 2554ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเกิดจากระบบไฟฟ้าดับทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา จึงทำให้ยักษ์อย่างอเมริกาเกิดปัญหาระบบเครือข่ายต่างล่มโดยมิได้นัดหมาย ที่เกิดความโกลาหลในอุตสาหกรรมไอซีที ไปพอสมควร ไม่เพียงแต่ในต่างประเทศ ระบบเครือข่ายในประเทศไทยเกิดจอมืดไปร่วมสามชั่วโมง ยักษ์ใหญ่แห่งธุรกิจค้าปลีกออนไลน์อย่าง Amazon ได้ออกมาชี้แจงทางเหตุทางเทคนิคที่ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้ บนบริการ Elastic Compute Cloud หรือ EC2 ส่งผลให้บริการจากหลายบริษัทไม่สามารถใช้งานได้ อาทิเช่น Foursquare, Hootsuite, Reddit และ Quoro  โดยที่ OCLC หรือ (Online Computer Library Center) ที่เป็นเครือข่ายทางห้องสมุดที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็ได้นำการประมวลผลแบบกลุ่มก้อน หรือ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้โดยการนำเอาห้องสมุดทั้งหมดมาเชื่อมต่อกัน และนำ Cloud ILS และ Cloud OPAC มาใช้ร่วมกัน
ซึ่ง Cloud Computing แบ่งการใช้งานได้ สามประเภท คือ
1.1 Cloud Service แยกตามกลุ่มผู้ใช้ มีดังนี้คือ
- Cloud ระดับองค์กร นั่นคือ cloud library
- Cloud ระดับบุคคล/บริการ เช่น Gmail, Facebook, Meebo
- Cloud ผสม เช่น  Dropbox  เป็นบริการเรียกใช้ File งานต่างๆที่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตสามารถทำงานได้อย่างปกติในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์เก็บข้อมูล โดยปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะให้บริการทั้งแบบองค์กรและบุคคล
1.2 Cloud Service แยกตามการให้บริการ มีดังนี้คือ
- Public Cloud เป็นการให้บริการแบบสาธารณะ เช่น Google
- Pivate Cloud เป็นการให้บริการแบบระดับส่วนบุคคล เช่น Facebook Gmail เป็นต้น
- Hybrid Cloud การให้บริการแบบ2ทางเลือก หรือแบบผสมทั้งแบบระดับองค์กรและส่วนบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นไปทางระบบขององค์กรต่างๆ สำหรับในประเทศไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นองค์กรที่มีการใช้ Public Cloud และ Pivate Cloud เป็นแบบผสม
1.3 Cloud Service แยกตามประเภทของเทคโนโลยี มีดังนี้คือ
SaaS (Software as a Service) ซึ่งเป็นการใช้การโปรแกรมต่างๆ บนเว็ปตามปกติโดยที่ไม่ต้องติดตั้งเครื่องมือใดๆเลย และยังสามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย อีกไม่ได้ใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ของตน และสามารถเรียกใช้งานได้เมื่อไรก็ได้ในขณะที่เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมาก
IaaS (Infrastructure as a Service) เป็นการใช้งานแบบ Virtual Machines (VMs) มีบริการต่างๆสนับสนุนการทำงานครบถ้วน เช่น Amazon Elastic Compute Cloud (EC2) , SunGrid, Gogrid
PaaS (Platform as a Service) คือ เครื่องมือสำหรับการพัฒนา โปรแกรมประยุกต์บน cloud computing เช่น Google App Engine, Heroku, Mosso, Engine Yard, Joyent, force.com (Sale force platform)

2. Mobile Device คือ การบริการบนอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่น โทรศัพท์ถือมือ ประเภท Smart phone, Tablet PC, Netbook หรือ eReader โดยที่การประยุกต์ใช้กับงานบริการของห้องสมุดได้นั้น จะต้องมีการทำการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ก่อนว่ามีการใช้บริการรูปแบบใดผ่านโมบายบ้างใช้ผ่านอุปกรณ์พกพาอะไรเป็นสำคัญ เพื่อให้มุมมองในภาพรวมก่อน ซึ่งมีเว็บสถิติของประเทศไทย หลายตัวที่ช่วยประเมินถึงพฤติกรรมผู้ใช้ว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร เช่น www.truehits.net, http://tru Platform as Serviceehit Platform as Services.net  และ www.google.com/analytics
ซึ่งระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์พกพาต่างๆนั้นก็มีความสำคัญที่จะเป็นตัวบอกการให้บริการด้วย ซึ่งแบ่งตามประเภทได้ดังนี้ คือ
Smart Phone : Java, Dabian
Tablet : Android
eReader : IOS
Netbook : Windows

3. Digital Content & Publishing คือ การปรับเปลี่ยนมาเป็นวิธีการสร้างตำราให้เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิค เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการลดปริมาณงบประมาณในการจัดซื้อสารสนเทศ อีกทั้งเป็นการสนับสนุนบุคลากรภายในองค์กรให้แสดงศักยภาพหรือความสามารถของตนเอง และเป็นการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานอีกด้วย ซึ่งการทำเอกสารส่วนมักจะทำกันในส่วนของ หนังสืออิเล็กทรอนิค หรือ E-book
ซึ่งหนังสืออิเล็กทรอนิค หรือ E-book dHคือ หนังสือ ที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
การทำ E-book ให้มุ่งความสำคัญไปที่ 3 ส่วน คือ
1. การได้มาของเนื้อหา
2. กระบวนการผลิตและรูปแบบ
3. ลิขสิทธิ์ต้นฉบับและการเผยแพร่ (ลิขสิทธิ์ของต้นฉบับ, ลิขสิทธิ์ของ Ebook)
ซึ่งรูปแบบของ File ของ Ebook ได้แก่
.doc
.pdf
Flip ebook เช่น Flip Album เป็นอัลบั้มภาพ อาจไม่สามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้
Flash ebook สามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้
ePublishing (โปสเตอร์, แผ่นพับ อิเล็กทรอนิกส์)
.ePub (Sony reader, Kindle, ipad, iphone)
Digital multimedia book จะโชว์เป็นวิดีโอ จากภาพ

4. Crosswalk Metadata คือ กลุ่มของเมตาดาต้ามากกว่า 1 ประเภท ซึ่งในปัจจุบันเมตาดาต้าได้มีการผสมผสานกันเกือบทั้งหมด ดังนั้นบรรณารักษ์ หรือผู้ทำงานในสถาบันสารสนเทศ จึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเมตาดาต้าให้มากที่สุด โดยที่ตัวอย่างของเมตาดาต้า มีดังต่อไปนี้คือ
MARC
MARCML New of library ข้อแตกต่างกับ MARC คือไม่มีพวก Subfield
Dublin core
ISAD (g) มาตรฐานสำหรับกลุ่มผู้ที่ทำจดหมายเหตุแบบดิจิตอล เช่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร์
CDWA มาตรฐานในงานกลุ่มพิพิธภัณฑ์
RDF มาตรฐานในงานจัดการความรู้
OWL มาตรฐานในงาน
MODs (คล้ายกับ DC แต่มี Element มากกว่า ใช้ในการทำ Digital Collection)
METs   (คล้ายกับ DC แต่มี Element มากกว่า ใช้ในการทำ Digital Collection)
PDF Metadata (ในกลุ่มสายงานมหาวิทยาลัย)
Doc Metadata (ในกลุ่มสายงานมหาวิทยาลัย)
EXIF (ใช้กับงานประเภทรูปภาพ,รูปถ่าย Digital ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักข่าว)
XMP (ใช้กับงานประเภทรูปภาพ,รูปถ่าย Digital ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักข่าว)
IPTC

5. Open Technology
Z39.5 การแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือผ่าน ILS โดยสามารถทำการดูดบรรณานุกรมมาได้อย่างอัตโนมัติ
ILS <—–> ILS ระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุด
Z39.88 ช่วยให้ข้อมูลบรรณานุกรมกับ Reference manager
ILS <—–> Apps ระหว่างห้องสมุดกับ other application that be new create เน้นในด้านการเพิ่มลำดับเว็บ / จัดลำดับเว็บ Webometric
OAI-PMH มีแนวคิดมาจากการทำ one-search คือ การสืบค้นได้ทุกอย่างจากช่อง search เท่านั้น
ILS or DBs <—–> DBs, Apps
Linked Data keyword ที่ได้จากการทำเหมืองข้อมูลจากOAI-PMH จะถูกนำมาใช้ในด้านนี้ต่อ –> Semantic Web/Web 3.0
Web 1.0 มีรูปแบบคือ ให้ใครคนใดคนหนึ่งดูแลเว็บ แล้วเราอ่านอย่างเดียว
Web 2.0 มีรูปแบบคือ เรามีสิทธิ์สร้างเว็บขึ้นมาเองได้
Web 3.0 หัวใจสำคัญคือคำว่า Semantic สามารถป้อนคำค้นเป็นประโยคได้/เว็บเชิงความหมาย เช่น กูเกิ้ลรู้ว่าคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมคือ พืช สวน ไร่นา ทำเว็บไซต์ให้ค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับคำค้น โดยเอามาจาก keyword (link data)
Metadata คือ ข้อมูลที่ใช้กำกับและอภิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มของข้อมูลอื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บัตรในห้องสมุดสำหรับสืบค้นหนังสือ โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชื่อหนังสือและตำแหน่งของหนังสือที่ต้องการหา ซึ่งหนังสือเป็นข้อมูลที่ต้องการ และบัตรเป็นข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของข้อมูลนั้น
Bibliography  เป็นรายการอ้างอิงและรายการทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ ที่ผู้เขียนรายงานได้ศึกษาค้นคว้าทั้งหมด แต่บางรายการไม่ได้นำมาอ้างอิงในเนื้อหา

6. Data & Information Mining/Visualization         
Data & Information Mining ระบบฐานข้อมูลต้องไม่จบแค่ผลลัพธ์การค้น แต่มันต้องบอกอะไรมากกว่านั้น เช่นบอกว่า เจอทั้งหมดกี่เล่ม ปีไหนบ้างมีกี่เล่ม จะมีโปรแกรมช่วยนับให้เรา                      
Visualization มีหนังสือที่เขียนโดยผู้เขียนคนนี้กี่เรื่องๆ แล้วมีเส้นเชื่อมโยงระหว่างคน 2 คนนี้ว่าเคยเขียนหนังสือเล่มเดียวกันด้วย เช่น http://www.boliven.com/

7. Green library เป็นการที่ช่วยลดพลังงานในห้องสมุดโดยมีปรับปรุงส่วนต่างๆของห้องสมุดให้ลดพลังงานมากที่สุด โดยยึดในสิ่งต่อไปนี้คือ
 Green library <– Global warming …Green Building
Green library <– Global warming …Green ICT คู่กับ Cloud




                 

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การรู้สารสนเทศ จาก Popof Blog (http://popofblog.blogspot.com)

การรู้สารสนเทศ (Information literacy)
ความหมายการรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ความสำคัญการรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ

2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น

3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น

4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ

องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
การรู้สารสนเทศเป็นทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะ และกระบวนการอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนา การเรียนรู้ทุกรูปแบบ สมาคมห้องสมุดอเมริกัน (American Library Association. 2005 : Online) ได้กำหนดองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 4 ประการ คือ

1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องกำหนดเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า กำหนดความต้องการสารสนเทศ ระบุชนิดและรูปแบบที่หลากหลายของแหล่งสารสนเทศที่จะศึกษา เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ บุคคล สถานที่ อินเทอร์เนต เป้นต้น รวมทั้งตระหนักถึงค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่ได้รับ และทราบขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น

2. การเข้าถึงสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม กำหนดกลยุทธ์การค้นคืนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถค้นคืนสารสนเทศออนไลน์หรือสารสนเทศจากบุคคลโดยใช้วิธีการที่หลากหลายสามารถปรับกลยุทธ์การค้นคืนที่เหมาะสมตามความจำเป็น รวมถึงการตัดตอน บันทึก และการจัดการสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ

3. การประเมินสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถสรุปแนวคิดสำคัญจากสารสนเทศที่รวบรวม โดยใช้เกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความทันสมัย สามารถสังเคราะห์แนวคิดหลักเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเพื่อพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่เพิ่มขึ้น อะไรคือสิ่งที่ขัดแย้งกัน และอะไรคือสิ่งที่คล้อยตามกัน

4. ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถใช้สารสนเทศใหม่ผนวกกับสารสนเทศที่มีอยู่ในการวางแผนและสร้างผลงาน หรือการกระทำตามหัวข้อที่กำหนดทบทวนกระบวนการ พัฒนาการผลิตผลงานของตนเอง และสามารถสื่อสารหรือเผยแพร่ผลงานของตนเองต่อบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากความสามารถดังกล่าวแล้ว ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีก ได้แก่

1. การรู้ห้องสมุด (Library literacy) ผู้เรียนต้องรู้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จักอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆด้วย

2. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) ผู้เรียนต้องรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ การเชื่อมประสาน และการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์เอกสาร การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรู้ที่ตั้งของแหล่งสารสนเทศ เป็นต้น

3. การรู้เครือข่าย (Network Literacy) ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ

4. การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งทีเห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้ เช่น สัญลักษณ์บุหรี่ และ มีเครื่องหมายกากบาททาบอยู่ด้านบนหมายถึง ห้ามสูบบุหรี่ สัญลักษณ์ผู้หญิงอยู่หน้าห้องน้ำ หมายถึง ห้องน้ำสำหรับสตรี เป็นต้น

5. การรู้สื่อ (Media Literacy) ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ และ สามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร

6. การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy) ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจิทัลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมาใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไชต์ เป็นต้น

7. การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy) ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การค้นสารสนเทศจาก
อินเตอร์เนต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากล และสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ

8. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญมีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา

9. การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic) การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป็นต้องอ้างอิงเจ้าของผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็นต้น

ที่มา : คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.//(2548).ทักษะการรู้สารสนเทศ.//พิมพ์ครั้งแรก.//กรุงเทพฯ: ภาควิชา
บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บริการสอนการใช้ (สรุปการเรียนวันที่ 17/07/54)

บริการสอนการใช้
                บริการสอนการใช้เป็นบริการการสอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นบัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการ คือ ให้ผู้ใช้มีการรับรู้สารสนเทศ ซึ่งสมาคมห้องสมุดอเมริกันถือว่า บริการสอนการใช้เป็นหลักการแรกในการให้บริการ เนื่องจากในปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ห้องสมุดต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบและสอนกรใช้อยู่ตลอดเวลา
                โดยปรัชญาของบริการสอนการใช้ ก็คือ ช่วยให้ผู้ใช่สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ผู้ใช้ต้องมีการรับรู้สารสนเทศ ซึ่งบริการการสอนการใช้จะทำให้ผู้ใช้ได้รับรู้สารสนเทศซึ่งมีความสำคัญ คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของมนุษย์ ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการพัฒนาประเทศสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ในสังคมใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว                                                                                                                                                                     
             โดยการที่จะให้เกิดการรับรู้การใช้นั้น ก็จะต้องมีการสอนการใช้โดยการสอนการใช้ อาจจะต้องมีการปฏิรูปการศึกษาด้วย โดยที่การปฏิรูปการศึกษามีวัตถุประสงค์คือ ต้องการให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เน้นการพัฒนาคนให้ได้รับการศึกษาสูงขึ้นเน้นกระบวนการคิด และห้องสมุดต่างๆจะต้องเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทักษะในการพัฒนามนุษย์ โดยในแต่ละประเทศก็จะมีแผนการดำเนินงานให้คนในประเทศนั้นๆที่แตกต่างกัน โดยในประเทศต้องการให้คนในประเทศนั้นมีทักษะการใช้เทคโนโลยี และการสื่อสาร การรับรู้สารสนเทศ 75% และรู้ทันสื่อและข่าวสาร โดยต้องเริ่มตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้มีทักษะการรู้สารสนเทศ                                                                                                                                                          
            ซึ่งในห้องสมุดมีบทบาทในการสอนการรู้สารสนเทศ ทั้งอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ โดยบรรณารักษ์มีบทบาทในฐานะผู้สอนวิชาการรู้สารสนเทศ โดย ผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีทักษะในด้านสารสนเทศ ดังนี้
1.       มีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
2.       มีความสามารถและรู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร
3.       มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานะเป็นผู้บริโภคสารสนเทศที่มีวิจารณญาณ
4.       มีความสามารถในการประมวลสารสนเทศกล่าวคือสามารถในการคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศ
5.       มีความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.       มีทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น การรู้คอมพิวเตอร์ การรู้เทคโนโลยีและการสื่อสาร
โดยความรู้ยุคดิจิทัลประกอบด้วย ทักษะดังนี้
1.       Basic literacy  มีความรู้ ทักษะด้านภาษา ได้แก่ การอ่าน การเขียน การพูด และการฟัง
2.       Visual literacy  มีความรู้เรื่องสื่อภาพ เสียง เพื่อความสามารถในกรสื่อสารยุคสารสนเทศ
3.       Media literacy  เข้าใจรูปแบบการเสนอสื่อ การวิเคราะห์
4.       Digital literacy  มีความรู้เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้เครือข่ายและสามารถประยุกต์การใช้งาน
5.       Network literacy  มีความรู้ การเข้าใจในระบบเครือข่าย
6.       Cultural literacy  มีความรู้ การเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม
โดยวัตถุประสงค์บริการสอนการใช้ห้องสมุด มีดังต่อไปนี้
1.       สามารถทำให้ผู้ใช้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ
2.       สามารถนำความต้องการของสารสนเทศไปสร้างคำถาม คำหลัก และพัฒนากลยุทธ์การสืบค้นได้
3.       ผู้ใช้สามารถเลือก และสามารถเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการได้รวมถึงมีความสามารถในการประเมินสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศ
4.       ผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศมาพัฒนาองค์ความรู้เดิมและประยุกต์ใช้กับงานในสถานการณ์ต่างๆได้
ลักษณะการจัดการบริการ มี 2 ลักษณะ คือ บริการเฉพาะบุคคล ซึ่งเป็นแบบไม่เป็นทางการ และการบริการเป็นกลุ่มซึ่งการบริการแบบเป็นทางการ
การบริการเฉพาะบุคคล เป็นการบริการช่วยเหลือผู้ใช้เมื่อผู้ใช้มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ จากปัญหาในการที่จะได้มาซึ่งข้อสนเทศที่ต้องการ เนื่องจากขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุด และปัญหาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภท ระบบการจัดการ การจัดเก็บ และการบริการ เช่น บริการสอน/แนะนำการใช้และการค้นคว้า (Library Instruction Services) บรรณารักษ์อ้างอิงจะจัดการบริการสอน/แนะนำผู้ใช้เกี่ยวกับ หลักการค้นสารสนเทศ การใช้เครื่องมือค้นทรัพยากรสารสนเทศ และสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดบริการ เช่น การค้นจากหัวเรื่อง แลการกำหนดคำสำคัญ การใช้ตัวดำเนินการ การค้นฐานข้อมูลเฉพาะรายชื่อ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถได้มาในสิ่งที่เหมาะสม และตรงต่อความต้องการในการได้มาซึ่งข้อสารสนเทศสนเทศ 
การให้บริการเป็นกลุ่ม
เหมาะสำหรับการให้บริการสำหรับผู้ที่เป็นกลุ่มใหม่ที่เข้ามาใช้ห้องสมุด เช่น นักเรียน นักศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย หรือกลุ่มบุคคลใหม่ที่เข้ามาอยู่ในชุมชน
              การบริการเป็นกลุ่มจะมีทั้งการบริการที่ไม่เป็นทางการ คือ เมื่อร้องขอ หรือการบริการที่เป็นทางการ ซึ่งห้องสมุดจะมีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไว้ ในห้องสมุดโรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
              ลักษณะการบริการเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการในห้องสมุด แผนกต่าง ในห้องสมุด ทรัพยากรที่ห้องสมุดมี บริการห้องสมุดสำหรับผู้ใช้ และแนะนำให้รู้จักบุคลากรในแผนกต่างๆ
              การแนะนำอาจจะมีการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุดทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ และเสนอบนอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูล วิธีการสืบค้น วิธีการศึกษาค้นคว้า สำหรับใช้ประกอบการแนะนำ หรือการสอนผู้ใช้ห้องสมุด นอกเหนือจากการแนะนำโดยบรรณารักษ์
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันว่าการบริการทางตรงโดยบรรณารักษ์ หรือบุคลากรห้องสมุด จะเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ใช้ มากกว่าการใช้สื่ออื่นๆ มาแทนในการแนะนำห้องสมุด ตัวอย่างของการบริการแบบกลุ่ม เช่น การนำชมห้องสมุด  บริการสอนการใช้เครื่องมือการค้น  บริการสอนการค้นคว้า 
ซึ่งในการสอนการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา มีบริการดังต่อไปนี้
1.       การสอนเป็นรายวิชาอิสระ (Stand-Alone Course or Class) เป็นรายวิชาหนึ่งของหลัก-สูตรซึ่งอาจจะเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง
2.       การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา (Course-Related Instruction) เป็นการสอนการรู้สารสนเทศที่สอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานั้นๆ

3.       การสอนแบบบรูณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร (Course-Integrated Instruction) เป็นการสอนที่พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยจัดทำหลักสูตรตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ และรูปแบบสอนจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนในรายวิชา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนและบรรณารักษ์จะต้องทำงานร่วมกันในการวางแผนและการดำเนินการสอนในลักษณะสอนเป็นทีม
4.       โปรแกรมสอนห้องสมุด (One short Instruction)  จัดสอน อบรม ปฏิบัติการโดยห้องสมุด
5.       บทเรียนออนไลน์ (Online Tutorials) เป็นการสอนผ่านเว็บไซต์มีการใช้สื่อประสม และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตช่วยในการพัฒนาบทเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
6.     สมุดฝึกหัด (Workbook) ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนกะทัดรัด และเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกทักษะการรู้สารสนเทศ