วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บริการแนะนำ (Guidance Services) / Web & Library 2.0 (สรุปการเรียนวันที่ 28/08/54)


บริการแนะนำ (Guidance Services)
                มีลักษณะเหมือนกับบริการสอนการใช้ แต่มีความแตกต่างกันคือ เน้นการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า ซึ่งห้องสมุดส่วนใหญ่จะไม่ค่อยนิยมให้บริการ แต่มักจะพบเห็นได้ในห้องสมุดประชาชนที่มีให้บริการ
ประเภทของบริการแนะนำ
บริการแนะนำการอ่าน เป็นการช่วยเหลือสารสนเทศที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือแนะนำการเลือกสารสนเทศ โดยบรรณารักษ์ หรือ บรรณารักษ์อ้างอิงคอยให้บริการ หรือภาพยนต์สั้นแนะนำหนังสือก็ได้ เพื่อดึงความสนใจให้กับผู้ใช้ หรือแบบสอบถามเพื่อเลือกหนังสือให้ก็ได้
บริการการอ่านบำบัด เป็นการบริการเพื่อปรับปรุง และพัฒนาจิตใจ ความคิด เนื่องจากหนังสือเป็นการส่งเสริมที่สามารถผ่อนคลายอารมณ์ ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน ช่วยฟื้นฟูและพัฒนาด้านจิตใจได้ ซึ่งมักจะต้องทำควบคู่กับผู้รู้ด้านจิตวิทยา
บริการปรึกษาแนะนำทำรายงาน ช่วยเหลือแนะนำแนวทางในการค้นคว้า และการทำรายงานในแบบฟอร์มที่ถูกต้องทางวิชาการ พบมากในห้องสมุดโรงเรียน และห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
บริการช่วยเหลือการวิจัย เป็นบริการหนึ่งที่กำหนดให้มีบทบาทในการช่วยเหลือผู้ใช้เพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่ต้องการ เนื่องจากมีการผลิตสารสนเทศมากมายตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้ตามสารสนเทศได้ไม่ครอบคลุมทั้งหมด ในขณะที่บรรณารักษ์สามารถรู้แนวทางการได้มา และการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ
บริการอื่นๆ เป็นบริการที่ห้องสมุดที่จะเสริมเพื่อให้ผู้ใช้มีการใช้งานมากขึ้น

Web/Library 2.0
          เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีห้องสมุดที่ต้องตอบสนองต่อการใช้ผู้ใช้ห้องสมุดใรปัจุจบันที่เข้ามาใช้บริการแบบออนไลน์อย่างมากขึ้น โดยอยู่มุมไหนก็ได้ของโลกโดยไม่ต้องเดินเข้าไปห้องสมุดเพื่อขอเข้าไปใช้บริการ ซึ่งปัจจุบันนี้ห้องต้องเปลี่ยนแปลงการใช้บริการ เพียงไม่ใช่แค่ที่อ่านหนังสืออย่างเดียวอีกแล้ว โดยที่ Web/Library 2.0 เป็นรูปแบบใหม่ของบริการห้องสมุด ซึ่งจะมีลักษณะคือ
-           เป็นเว็บแห่งการมีส่วนร่วม
-           มุ่งเน้นผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างมีวัตถุประสงค์และต่อเนื่อง
-           ผู้ใช้สามารถมีส่วนร่วมกับการให้บริการของห้องสมุดผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เช่น User Comment, Tag และ Rating Feed User-created Content
                ซึ่งที่มาของแนวคิดของการบริการนี้มาจาก พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยน พัฒนาการ IT ตามกฎของพาเรโต (Pareto Principle) /"80/20 rule" และความคิดแบบเศรษฐศาสตร์หางแถว(ยาว)(The Long Tail) จึงทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี Web 2.0 และเกิดเป็น Library 2.0 ในที่สุด
โดยองค์ประกอบของ Library 2.0 ประกอบไปด้วย
1.       มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง  ผู้ใช้ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาเนื้อหาและบริการให้สอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้
2.       จัดให้มีการใช้ทรัพยากรในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น วิดีโอ และสื่อเสียง ทั้งนี้ในอนาคตห้องสมุดแบบกายภาพจะลดลง และห้องสมุดเสมือนจะมีบทบาทมาก
3.       สร้างสังคมการสื่อสาร จัดให้มีการสื่อสาร 2 ทางระหว่างผู้ใช้ และผู้ใช้ และ ผู้ใช้กับผู้บริการ ทั้งการสื่อสารทางเดียว (asynchronous) เช่น wikis และ โต้ตอบ (synchronous)เช่น IM
4.        การสร้างสรรค์สังคม  ห้องสมุดเป็นสถาบันบริการสาธารณะ จึงต้องมีความเข้าใจสภาพการปรับเปลี่ยนของสังคมที่ให้บริการ แต่ไม่ใช่บรรณารักษ์เท่านั้น ผู้ใช้จะต้องมีส่วนร่วมด้วยในการปรับเปลี่ยน โดยต้องคำนึงต่อสังคมส่วนรวม พร้อมๆ กับความต้องการส่วนบุคคล
โดยรูปของการบริการต่างๆของ Web/Library 2.0 มักจะใช้เครื่องมือต่างๆที่ใช้งานต่าง เช่น
·      ใช้ RSS แจ้งข่าวห้องสมุด
·      ใช้ RSS, Wikis และ Blogs ในการพัฒนาบุคลากร แจ้งข่าววิจัย
·      พัฒนา OPAC 2.0 ‘rich content
·      การพัฒนา extension เพื่อให้ผู้ใช้ tag หนังสือได้โดยตรงจาก Library Catalog ของ เช่น PennTags ของ University of Pennsylvania
·      การใช้เทคโนโลยี web 2.0 ที่ให้บริการอยู่ในอินเตอร์เน็ตมาใช้ เช่น
     ใช้ Flickr โดยเปิด account ของห้องสมุด การสร้าง group ใน Flickr เพื่อสร้าง digital collection เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย/องค์กร ของ National Library of Australia เช่น Picture Australia,
     หรือการ link authority record ของ Library Catalog กับ Wikipedia เช่น Biz Wiki ของห้องสมุด Ohio University
     หรือการใช้เครือข่ายทางสังคมต่างๆ เช่น Facebook, Twitter เป็นต้น
     การใช้เวอร์ชวลเรียลลิตี (virtual reality) เป็นสภาพแวดล้อมที่จำลองโดยคอมพิวเตอร์ สภาพแวดล้อมในความเป็นจริงเสมือนส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สิ่งที่เกี่ยวกับการมองเห็น แสดงทั้งบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ อุปกรณ์แสดงผลสามมิติ     แต่การจำลองบางอันยังรวมไปถึงข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสด้วย เช่น เสียงจากลำโพงหรือหูฟัง เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น