วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุดและสถาบัน / บริการข่าวสารทันสมัย / บริการนำส่งเอกสาร (สรุปการเรียนวันที่ 17/08/54)

บริการยืมระหว่างห้องสมุดและสถาบัน (Inter Library Loan-ILL)
เป็นบริการของสถาบันบริการสารสนเทศ ที่ร่วมมือกันให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบัน หรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่งอื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกัน และร่วมกันกำหนดระเบียบต่างๆในการใช้บริการร่วมกัน โดยปัรัชญาของการให้บริการนี้ ได้ยึดหลักการ 3 อย่างคือ ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถตอบสนองความต้องการสารสนเทศผู้ใช้ได้ทั้งหมด ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการจัดบริการยืมระหว่างห้องสมุดและสถาบัน และความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ต้องสามารถจัดการให้สามารถสนองตอบได้ให้ดีที่สุด                                                                                      
โดยการยืมระหว่างห้องสมุดและสถาบัน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมให้วิจัยและการศึกษาในเชิงลึก โดยยึดถือหลักการให้ยืมสำหรับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ใช้ห้องสมุด เกิดการบริการแก่ผู้ใช้ที่เพิ่มมากขึ้นในขณะที่ปริมาณการลงทุนคงที่ หรือให้บริการคงเดิมในราคาที่ถูกกว่าเดิมหรือลงทุนน้อยลง ซึ่งความสำคัญของบริกานี้คือ ขยายความสามารถในการเข้าถึง ลดปัญหาการมีวัสดุที่ไม่เพียงพอ ลดช่องว่างระหว่างความไม่เท่าเทียม ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทาง มีการใช้สารสนเทศที่คุ้มค่าช่วยประหยัดงบประมาณเพื่อหลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน โดยเปลี่ยนเป็นการยืมแทนการซื้อ ช่วยให้เข้าถึงสารสนเทศที่หายากที่มีเฉพาะบางห้องสมุดเท่านั้น สร้างความเข้มแข็ง การจัดการบริการในกลุ่มห้องสมุดและเพิ่มความก้าวหน้าอีกด้วย
ซึ่งลักษณะของบริการยืมระหว่างห้องสมุดและสถาบัน จะประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้คือ การยืม และการให้ยืม
ซึ่งมีองค์ประกอบการบริการยืมระหว่างห้องสมุด คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ การสร้างข้อตกลงความร่วมมือในการบริการยืมระหว่างห้องสมุด แบบฟอร์มบริการยืมระหว่างห้องสมุด และการสร้างสมาชิกเครือข่าย
โดยมีการการดำเนินงานยืมระหว่างห้องสมุด อยู่สองรูปแบบคือ การดำเนินงานด้วยระบบมือ และการดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ       
                                                                                                                                                                                                                                                
บริการข่าวสารทันสมัย (Current Awareness Service-CAS)
                เป็นบริการที่มีวัตถุประสงค์จัดทำขึ้นเพื่อจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งที่อยู่ในรูปของสิ่งพิมพ์ สิ่งไม่ตีพิมพ์ ให้บริการจัดส่งในรูปแบบกระดาษ ฉบับเต็ม ย่อส่วน หรือฉบับอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ เป็นงานบริการที่มีค่าใช้จ่ายในการให้บริการ โดยในการให้บริการนี้ ผู้ให้บริการจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับลิขสิทธ์ที่ผู้บริการนำส่งจะต้องขออนุญาตผู้มีสิทธิในผลงาน และเสียค่าลิขสิทธ์ให้ถูกต้องก่อนทำสำเนาถึงผู้ใช้ด้วย ต่อมาเริ่มมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริการในการจัดทำบริการเสริมการใช้ฐานข้อมูล เช่น Injenta จะให้บริการส่งบทความใหม่ทุกอาทิตย์ในหัวข้อที่ผู้ใช้สนใจ แจ้งทาง e-mail หรือ Emerald จัดทำบริการจดหมายข่าว TOC (Table of content services) และ แจ้งบทความใหม่ในเรื่อง/หัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด แจ้งทาง e-mail และ Google จัดบริการ Alert  แจ้งบทความใหม่ในเรื่อง/หัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด แจ้งทาง e-mail
บริการข่าวสารทันสมัยจมีประโยชน์ เพื่อตอบสนอง วัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้คือ ให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ และตามความต้องการต่อผู้รับจัดส่งทันที และจัดส่งให้อย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
ซึ่งการจัดส่ง หรือเผยแพร่บริการสามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้ ผ่านทางเอกสาร ผ่านคอมพิวเตอร์ และผ่านการสื่อสารต่างๆ  :ซึ่งในปัจจุบันนี้ ได้มีการนำเทคโนโลยี RSSมาใช้ ซึ่งจุดเด่นของ RSS คือผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆเพื่อดูว่ามีข้อมูลอัปเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัปเดทไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัปเดทใหม่บนเว็บไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้สามารถรับข่าวสารอัปเดทใหม่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์ด้วย   


บริการนำส่งเอกสาร (Document delivery service)

เป็นบริการการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่ และ ยังไม่ได้เผยแพร่ และ จัดส่งในรูปแบบกระดาษ หรือ วัสดุย่อส่วน หรือ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ และมีการคิดค่าบริการสำหรับผู้ใช้ด้วยบริการ นี้ เกี่ยวกับลิขสิทธ์ที่ผู้บริการนำส่งจะต้องขออนุญาตผู้มีสิทธิในผลงาน และเสียค่าลิขสิทธ์ให้ถูกต้องก่อนทำสำเนาถึงลูกค้าด้วย การนำส่งเอกสารเริ่มมาจากการยืมระหว่างห้องสมุด มีความเหมือนกันในลักษณะการนำสารสนเทศจากภายนอกสถาบันมาบริการให้ผู้ใช้ มีความแตกต่างตรงที่บริการนำส่งเอกสารเป็นบริการที่ควบคุมกระบวนการเตรียม จัดหา และผลิตสารสนเทศตามคำขอของผู้ใช้ นอกจากนี้บริการนำส่งเอกสารเป็นที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในการจัดเก็บสืบค้น บอกแหล่งสารสนเทศ ทำสำเนา และส่งสำเนาเอกสาร  ได้รวดเร็วกว่าบริการยืมระหว่างสถาบันสารสนเทศ และบริการยืมระหว่างห้องสมุดจะใช้เวลาในการดำเนินงานนานกว่าผู้ใช้อาจเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่าย
ซึ่งขั้นตอนการจัดส่งสารสนเทศ จะประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้ คือ
             1.การรับคำขอ
            2.การตรวจสอบแหล่งที่มีสารสนเทศ   ในกรณีที่ผู้ใช้บริการไม่ได้ระบุแหล่งที่มีสารสนเทศ ผู้ให้บริการจะดำเนินการตรวจสอบ จากคู่มือ ฐานข้อมูลต่างๆ
           3.การส่งคำขอไปยังแหล่งที่มีสารสนเทศ ทำได้โดยการส่งผ่านระบบออฟไลน์  การส่งทางโทรสาร การส่งผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
        4.การส่งสารสนเทศไปยังผู้ใช้บริการ  ปรกติจะทำการแจ้งให้ผู้ใช้มารับสารสนเทศ หรือส่งทางไปรษณีย์หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การนำส่งต้นฉบับสารสนเทศให้ผู้ใช้ที่เครื่องปลายทาง หรือนักสารสนเทศอาจจัดส่งต้นฉบับสารสนเทศในสื่อประเภทดิสเกตต์ หรือการส่งโดยการถ่ายโอนข้อมูล
         ซึ่งแหล่งบริการจัดส่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
         1.สถาบันบริการสารสนเทศและศูนย์สารสนเทศ ซึ่่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
          2.ตัวแทนจัดหาและจัดส่งสารสนเทศในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการค้าสารสนเทศเชิงพาณิชย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น