Library Ternd : สารสนเทศรูปแบบใหม่ในห้องสมุด
1. Cloud Computing คือ การประมวลผลแบบกลุ่มก้อน ทีผู้ใช้ไม่ต้องจำเป็นที่จะเก็บข้อมูลไว้กับตนเอง แต่สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลได้จะทางระบบเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วโลกผ่านทางนำทางของอินเตอร์เน็ตที่จะนำพาไปยังเส้นทางที่ว่างเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างดาย ไม่ว่าจะอยู่ใดก็ตามบนโลกของให้มีอินเตอร์เน็ตก็เข้าได้ แต่ถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ตก็ไม่สามารถที่จะเข้ามาใช้งานได้นั่นเอง เหมือนกับเหตุการณ์ Black April ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันที่ 21 เมษายน 2554ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเกิดจากระบบไฟฟ้าดับทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา จึงทำให้ยักษ์อย่างอเมริกาเกิดปัญหาระบบเครือข่ายต่างล่มโดยมิได้นัดหมาย ที่เกิดความโกลาหลในอุตสาหกรรมไอซีที ไปพอสมควร ไม่เพียงแต่ในต่างประเทศ ระบบเครือข่ายในประเทศไทยเกิดจอมืดไปร่วมสามชั่วโมง ยักษ์ใหญ่แห่งธุรกิจค้าปลีกออนไลน์อย่าง Amazon ได้ออกมาชี้แจงทางเหตุทางเทคนิคที่ทำให้ไม่สามารถให้บริการได้ บนบริการ Elastic Compute Cloud หรือ EC2 ส่งผลให้บริการจากหลายบริษัทไม่สามารถใช้งานได้ อาทิเช่น Foursquare, Hootsuite, Reddit และ Quoro โดยที่ OCLC หรือ (Online Computer Library Center) ที่เป็นเครือข่ายทางห้องสมุดที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก็ได้นำการประมวลผลแบบกลุ่มก้อน หรือ Cloud Computing มาประยุกต์ใช้โดยการนำเอาห้องสมุดทั้งหมดมาเชื่อมต่อกัน และนำ Cloud ILS และ Cloud OPAC มาใช้ร่วมกัน
ซึ่ง Cloud Computing แบ่งการใช้งานได้ สามประเภท คือ
1.1 Cloud Service แยกตามกลุ่มผู้ใช้ มีดังนี้คือ
- Cloud ระดับองค์กร นั่นคือ cloud library
- Cloud ระดับบุคคล/บริการ เช่น Gmail, Facebook, Meebo
- Cloud ผสม เช่น Dropbox เป็นบริการเรียกใช้ File งานต่างๆที่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตสามารถทำงานได้อย่างปกติในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์เก็บข้อมูล โดยปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะให้บริการทั้งแบบองค์กรและบุคคล
1.2 Cloud Service แยกตามการให้บริการ มีดังนี้คือ
- Public Cloud เป็นการให้บริการแบบสาธารณะ เช่น Google
- Pivate Cloud เป็นการให้บริการแบบระดับส่วนบุคคล เช่น Facebook Gmail เป็นต้น
- Hybrid Cloud การให้บริการแบบ2ทางเลือก หรือแบบผสมทั้งแบบระดับองค์กรและส่วนบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นไปทางระบบขององค์กรต่างๆ สำหรับในประเทศไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นองค์กรที่มีการใช้ Public Cloud และ Pivate Cloud เป็นแบบผสม
1.3 Cloud Service แยกตามประเภทของเทคโนโลยี มีดังนี้คือ
SaaS (Software as a Service) ซึ่งเป็นการใช้การโปรแกรมต่างๆ บนเว็ปตามปกติโดยที่ไม่ต้องติดตั้งเครื่องมือใดๆเลย และยังสามารถใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย อีกไม่ได้ใช้พื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ของตน และสามารถเรียกใช้งานได้เมื่อไรก็ได้ในขณะที่เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกมาก
IaaS (Infrastructure as a Service) เป็นการใช้งานแบบ Virtual Machines (VMs) มีบริการต่างๆสนับสนุนการทำงานครบถ้วน เช่น Amazon Elastic Compute Cloud (EC2) , SunGrid, Gogrid
PaaS (Platform as a Service) คือ เครื่องมือสำหรับการพัฒนา โปรแกรมประยุกต์บน cloud computing เช่น Google App Engine, Heroku, Mosso, Engine Yard, Joyent, force.com (Sale force platform)
2. Mobile Device คือ การบริการบนอุปกรณ์พกพาต่างๆ เช่น โทรศัพท์ถือมือ ประเภท Smart phone, Tablet PC, Netbook หรือ eReader โดยที่การประยุกต์ใช้กับงานบริการของห้องสมุดได้นั้น จะต้องมีการทำการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ก่อนว่ามีการใช้บริการรูปแบบใดผ่านโมบายบ้างใช้ผ่านอุปกรณ์พกพาอะไรเป็นสำคัญ เพื่อให้มุมมองในภาพรวมก่อน ซึ่งมีเว็บสถิติของประเทศไทย หลายตัวที่ช่วยประเมินถึงพฤติกรรมผู้ใช้ว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร เช่น www.truehits.net, http://tru Platform as Serviceehit Platform as Services.net และ www.google.com/analytics
ซึ่งระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์พกพาต่างๆนั้นก็มีความสำคัญที่จะเป็นตัวบอกการให้บริการด้วย ซึ่งแบ่งตามประเภทได้ดังนี้ คือ
Smart Phone : Java, Dabian
Tablet : Android
eReader : IOS
Netbook : Windows
3. Digital Content & Publishing คือ การปรับเปลี่ยนมาเป็นวิธีการสร้างตำราให้เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิค เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการลดปริมาณงบประมาณในการจัดซื้อสารสนเทศ อีกทั้งเป็นการสนับสนุนบุคลากรภายในองค์กรให้แสดงศักยภาพหรือความสามารถของตนเอง และเป็นการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานอีกด้วย ซึ่งการทำเอกสารส่วนมักจะทำกันในส่วนของ หนังสืออิเล็กทรอนิค หรือ E-book
ซึ่งหนังสืออิเล็กทรอนิค หรือ E-book dHคือ หนังสือ ที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
การทำ E-book ให้มุ่งความสำคัญไปที่ 3 ส่วน คือ
1. การได้มาของเนื้อหา
2. กระบวนการผลิตและรูปแบบ
3. ลิขสิทธิ์ต้นฉบับและการเผยแพร่ (ลิขสิทธิ์ของต้นฉบับ, ลิขสิทธิ์ของ Ebook)
ซึ่งรูปแบบของ File ของ Ebook ได้แก่
.doc
.pdf
Flip ebook เช่น Flip Album เป็นอัลบั้มภาพ อาจไม่สามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้
Flash ebook สามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้
ePublishing (โปสเตอร์, แผ่นพับ อิเล็กทรอนิกส์)
.ePub (Sony reader, Kindle, ipad, iphone)
Digital multimedia book จะโชว์เป็นวิดีโอ จากภาพ
4. Crosswalk Metadata คือ กลุ่มของเมตาดาต้ามากกว่า 1 ประเภท ซึ่งในปัจจุบันเมตาดาต้าได้มีการผสมผสานกันเกือบทั้งหมด ดังนั้นบรรณารักษ์ หรือผู้ทำงานในสถาบันสารสนเทศ จึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเมตาดาต้าให้มากที่สุด โดยที่ตัวอย่างของเมตาดาต้า มีดังต่อไปนี้คือ
MARC
MARCML New of library ข้อแตกต่างกับ MARC คือไม่มีพวก Subfield
Dublin core
ISAD (g) มาตรฐานสำหรับกลุ่มผู้ที่ทำจดหมายเหตุแบบดิจิตอล เช่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร์
CDWA มาตรฐานในงานกลุ่มพิพิธภัณฑ์
RDF มาตรฐานในงานจัดการความรู้
OWL มาตรฐานในงาน
MODs (คล้ายกับ DC แต่มี Element มากกว่า ใช้ในการทำ Digital Collection)
METs (คล้ายกับ DC แต่มี Element มากกว่า ใช้ในการทำ Digital Collection)
PDF Metadata (ในกลุ่มสายงานมหาวิทยาลัย)
Doc Metadata (ในกลุ่มสายงานมหาวิทยาลัย)
EXIF (ใช้กับงานประเภทรูปภาพ,รูปถ่าย Digital ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักข่าว)
XMP (ใช้กับงานประเภทรูปภาพ,รูปถ่าย Digital ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักข่าว)
IPTC
5. Open Technology
Z39.5 –การแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือผ่าน ILS โดยสามารถทำการดูดบรรณานุกรมมาได้อย่างอัตโนมัติ
ILS <—–> ILS ระหว่างห้องสมุดกับห้องสมุด
Z39.88 ช่วยให้ข้อมูลบรรณานุกรมกับ Reference manager
ILS <—–> Apps ระหว่างห้องสมุดกับ other application that be new create เน้นในด้านการเพิ่มลำดับเว็บ / จัดลำดับเว็บ Webometric
OAI-PMH มีแนวคิดมาจากการทำ one-search คือ การสืบค้นได้ทุกอย่างจากช่อง search เท่านั้น
ILS or DBs <—–> DBs, Apps
Linked Data keyword ที่ได้จากการทำเหมืองข้อมูลจากOAI-PMH จะถูกนำมาใช้ในด้านนี้ต่อ –> Semantic Web/Web 3.0
Web 1.0 มีรูปแบบคือ ให้ใครคนใดคนหนึ่งดูแลเว็บ แล้วเราอ่านอย่างเดียว
Web 2.0 มีรูปแบบคือ เรามีสิทธิ์สร้างเว็บขึ้นมาเองได้
Web 3.0 หัวใจสำคัญคือคำว่า Semantic สามารถป้อนคำค้นเป็นประโยคได้/เว็บเชิงความหมาย เช่น กูเกิ้ลรู้ว่าคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมคือ พืช สวน ไร่นา ทำเว็บไซต์ให้ค้นหาคำที่เกี่ยวข้องกับคำค้น โดยเอามาจาก keyword (link data)
Metadata คือ ข้อมูลที่ใช้กำกับและอภิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มของข้อมูลอื่น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ บัตรในห้องสมุดสำหรับสืบค้นหนังสือ โดยเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชื่อหนังสือและตำแหน่งของหนังสือที่ต้องการหา ซึ่งหนังสือเป็นข้อมูลที่ต้องการ และบัตรเป็นข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของข้อมูลนั้น
Bibliography เป็นรายการอ้างอิงและรายการทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ ที่ผู้เขียนรายงานได้ศึกษาค้นคว้าทั้งหมด แต่บางรายการไม่ได้นำมาอ้างอิงในเนื้อหา
6. Data & Information Mining/Visualization
Data & Information Mining ระบบฐานข้อมูลต้องไม่จบแค่ผลลัพธ์การค้น แต่มันต้องบอกอะไรมากกว่านั้น เช่นบอกว่า เจอทั้งหมดกี่เล่ม ปีไหนบ้างมีกี่เล่ม จะมีโปรแกรมช่วยนับให้เรา
Visualization มีหนังสือที่เขียนโดยผู้เขียนคนนี้กี่เรื่องๆ แล้วมีเส้นเชื่อมโยงระหว่างคน 2 คนนี้ว่าเคยเขียนหนังสือเล่มเดียวกันด้วย เช่น http://www.boliven.com/
7. Green library เป็นการที่ช่วยลดพลังงานในห้องสมุดโดยมีปรับปรุงส่วนต่างๆของห้องสมุดให้ลดพลังงานมากที่สุด โดยยึดในสิ่งต่อไปนี้คือ
Green library <– Global warming …Green Building
Green library <– Global warming …Green ICT คู่กับ Cloud
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น