วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ห้องสมุดและการตกแต่ง : แนวคิดการออกแบบและการใช้งาน จาก CLM : Bannapanya' Blog : บรรณปัญญา สารสนเทศการเรียนรู้

ห้องสมุดและการตกแต่ง : แนวคิดการออกแบบและการใช้งาน

        ความคิดนี้แว๊บขึ้นมาเมื่อวันรับปริญญา ของมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ผอ.ได้จัดซุ้มในห้องสมุดให้บัณฑิตที่รับปริญญาในปีนี้  ยังออกปากพูดเลยว่าห้องสมุดวันนี้มองดูแล้วเหมือนห้างสรรพสินค้ายังไงยัง งั้น  เหมือนกับวันนี้ห้องสมุดได้เปิดมุมมองของการเป็นห้างสรรพสินค้าหรือสตูดิโอ ถ่ายภาพได้เลย  แลบรรยากาศก็คึกคัก และมีความสุขกันทุกคน ซึ่งหากเป็นการใช้ห้องสมุดในเวลาปกติ  สีหน้าจะเป็นอีกอารมณ์ซึ่งแตกต่างกันมาก  หากห้องสมุดบ้านเราเป็นอย่างนี้ได้ก็คงจะไม่น้อย  และจะสามารถตอบโจทย์ของการเป็นห้องสมุดมีชีวิตได้เป็นอย่างดีทีเดียว  เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตและมีบรรยากาศไปตามสถานการณ์ของสถานที่แห่งนั้น  และสามารถปรับตัวให้รับกับสถานการณ์ได้ทุกสถานการณ์   และหากบุคลากรมีแนวคิดเปิดกลางด้วยเปิดกลาวงและมีความรู้ ความชำนาญเฉพาะเรื่องด้วย  จะช่วยส่งเสริมการจัดห้องสมุดให้มีชีวิตมากยิ่งขึ้น    
          อย่าง วันปริญญาของบัณฑิต  พวกเขาสามารถ ใช้สถานที่นี้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกได้ มีซุ้มที่สื่อถือสัญลักษณ์ของห้องสมุด คือเป็นแถบบาร์โค้ด  และมีตัวเลขบอกวัน เดือนปี ที่รับปริญญา ให้ได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก  และยังมีองตค์ประกอบแปลก ๆ ที่อาจหาไม่ได้ในสถานที่ทั่วไปมาประกอบฉากได้ด้วย              นอกจากจะออกแบบห้องสมุดให้เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้าหาความรู้แล้ว  มาดูกัน ค่ะว่าอาคารห้องสมุดยุคใหม่มีการออกแบบอย่างไรจึงจะสามารถตอบสนองต่อความ รู้สึกอยากจะเข้ามาใช้บริการได้มากยิ่งขึ้นกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน  
  อาจารย์ น้ำทิพย์  วิภาวิน ได้กล่าวว่า การออกแบบควรมีการผสมผสานบรรยากาศของ 3 สถานที่ในชีวิตของคนเรามาไว้ในสถานที่เดียวกัน  เพื่อสร้างความรู้สึกสบาย ๆ  คือ เหมือนการใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน ร่วมกับสถานศึกษาและศูนย์การค้า ก่อให้เกิดบรรยากาศที่ส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย     
  1.ห้องประชุมเล็กหรือใหญ่ สำหรับการพบปะ ประชุมปรึกษาหารือของคนในชุมชน
 
2. มีห้องพักผ่อน ที่จัดบริการห้องอ่านวารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ที่มีบรรยากาศสบาย ๆ                  
 3. มีมุมเครื่องดื่มและกาแฟ                   
 4. มีพื้นที่สำหรับการอ่าน ที่มีโต๊ะ เก้าอี้สำหรับนั่งอ่านสบายๆ              
5. มีพื้นที่ที่สามารถใช้เสียงได้ แยกออกเป็นพื้นที่ต่างหาก     
             
 6. มีห้องสำหนับการอ่านและการศึกษาที่เงียบสงบ และห้องสำหรับการศึกษาแบบเป็นกลุ่ม                  
 7. ขยายมุมสำหรับเด็กและเยาวชนให้กว้างขึ้น          
        
8. ขยายพื้นที่สำหรับทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า     
9. ขยายพื้นที่สำหรับการจัดบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น มีห้องบริการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต       
10.จัดสภาพแวดล้อมที่สวยงาม มีที่นั่งในลักษณะต่าง ๆ ไว้หลายรูปแบบ และบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ    และแทรกซึมและส่งผลทุกที่  ดังนั้น ห้องสมุดเป็นหน่วยงานที่ไม่เคยตกยุคจึงเห็นความสำคัญของเรื่องนี้  

ดังมีตัวอย่าง ของการออกแบบห้องสมุดที่เน้นห้องสมุดสีเขียว เช่น LEED หรือ (Leadership in Energy and Environmental Design) เป็นโปรแกรมที่ได้รับการรับรองในเรื่องของการออกแบบ การก่อสร้างและการดำเนินงานเกี่ยวกับอาคารสีเขียว เช่น  อาคารรัฐสภาของสหรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.  เป็นต้น    
 โดยการออกแบบอาคารนั้นจะเน้น เรื่อง     
    * ด้านภูมิศาสตร์ ผนังกระจกจะออกแบบหน้าต่างให้สามารถรับแสงจากธรรมชาติได้ตลอดวัน ส่งผลให้ห้องสมุดรู้สึกอบอุ่นและเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น  และจะเน้นการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศท้องถิ่นแทนที่จะเป็นแบบ one – design –fits ซึ่งเหมาะกับห้องสมุดทุกแห่งแทน 
 
แต่ปัจจุบันก์ มีแนวโน้มของการออกแบบห้องสมุด จะเน้นเรื่อง Green library หรือห้องสมุดสีเขียว เป็นการออกแบบที่มีแนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นเพราะภาวะของโลกร้อนที่กำลังคุกคามอยู่ทุกขณะ * ชั้นเก็บหนังสือจะไม่อยู่ในส่วนของด้านหน้าหรือส่วนกลางของอาคาร  แต่จะจัดเก็บในพื้นที่ที่เข้าถึงไม่ง่ายนัก เมื่อเข้าใช้ห้องสมุด แต่จะพบชั้นที่เก็บแผ่นดิสก์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนเป็นเหมือนกับห้อง สมุดเสมือนเพิ่มขึ้น
    * งานด้านเทคนิค เช่น การลงรายการ การประมวลผลและการบำรุงรักษาฐานข้อมูลเป็นส่วนย่อยของห้องสมุด และมีพื้นที่ในการทำงานลดลงและอาจจะหายไปจากห้องสมุดก็เป็นไปได้
    * ทางเข้าห้องสมุดจะเป็นสิ่งที่สำคัญและยิ่งใหญ่มาก ตัวอย่างของห้องสมุดของมหาวิทยาลัยฟลอริดา  ผู้เข้าใช้สามารถเดินขึ้นบันไดหรือใช้ลิฟต์เพื่อเข้าไปในห้องสมุด
    * แต่ลักษณะโดยรวมเห็นได้ชัดว่าการออกแบบห้องสมุดให้ความสนใจในเรื่องของการ เพิ่มความสะดวกสบายของผู้ใช้เป็นหลัก รวมถึงมีจำนวนมากที่นั่งหลากหลาย มีแสงจากธรรมชาติ  มีที่นั่งใกล้หน้าต่างกว้าง 
      



ขอบคุณ

 http://clm.wu.ac.th/wordpress/?p=426

เอื้อเฟื้อข้อมูล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น