งานห้องสมุด
งานห้องสมุดส่วนใหญ่จะมีการทำงาน อยู่ 3 ประเภท คือ งานบริหาร งานเทคนิค และงานบริการ โดยในที่นี้ จะขอนำเสนอในงานบริการห้องสมุดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ความสำคัญของงานบริการห้องสมุด
1.เป็นองค์ประกอบที่เกื้อหนุนต่อการพัฒนาห้องสมุด คือ งานบริการห้องสมุดเป็นงานที่ต้องติต่อ ประสานงานกับผู้ใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการ เพื่อสร้างภาพพจน์ที่ดี และสร้างการพัฒนาให้ห้องสมุดเกิดความก้าวหน้าที่มั่นคง โดยห้องสมุดนั้นจะต้องปรับปรุงพัฒนาบุคลากรในห้องสมุด และเทคนิคต่างๆให้ตามทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อยู่ตลอดเวลาในโลกยุคปัจจุบัน
2.ส่งเสริมในด้านการศึกษา เนื่องจากห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของห้องสมุด ที่จะทำให้ผลที่เกิดขึ้น คือ พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดีขึ้น
3.ห้องสมุดช่วยในด้านเศรษฐกิจ คือ ห้องสมุดจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือ เนื่องจากหนังสือต่างๆ มักมีราคาค่อนข้างสูง จึงเป็นหน้าที่ของห้องสมุด ที่เป็นบริการของรัฐที่จัดเอาให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนทุกคน สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้เท่าเทียม และทั่วถึงกัน โดยไม่มีการคิดมูลค่า
4.ห้องสมุดเป็นที่จัดเก็บ บำรุงรักษา และส่งเสริม สิ่งต่างๆที่เป็นวัฒนธรรมของชาติบ้านเมือง ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของชาติ ถ้าห้องสมุดไม่มีการส่งเสริมด้านวัฒนธรรมแล้ว ห้องสมุดย่อมไม่สามารถรวมตัวเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไม่ได้
5.ห้องสมุด ถือเป็นการบริการที่ส่งเสริมคนทุกช่วง ทุกวัย และเป็นองค์กรที่ส่งเสริมความรู้ที่เกี่ยวกับการเมือง วิถีทางการปกครอง เพื่อให้คนทุกคนมีความรู้ เพื่อให้สถานะของบ้านเมืองให้ดีขึ้น โดยให้คนในสังคมนั้นเข้าถึงสารสนเทศ และรับรู้ได้และถูกต้อง รวดเร็ว โดยห้องสมุดจะต้องให้ข้อมูลเหล่านี้โดยอาศัยความเป็นกลางเป็นหลัก
วัตถุประสงค์ของบริการห้องสมุด
วัตถุประสงค์ของการบริการห้องสมุด คือ ให้ผู้ใช้บริการได้รับสารสนเทศที่ถูกต้อง และต้องการให้มากที่สุด รวมไปถึงการส่งเสริมการใช้งานห้องสมุด ได้เป็นอย่างดี มีสารสนเทศไว้ใช้งานได้เสมอ อีกทั้งเป็นตัวกลางในการใช้งานห้องสมุด เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของห้องสมุดให้ดีขึ้น
ปรัชญาของห้องสมุด
โดย Ranganathan ได้ให้ปรัชญาที่ชื่อว่า Ranganathan 5 Laws โดยมีหัวข้อดังนี้
1.หนังสือมีไว้ให้ใช้
2.ผู้อ่านแต่ละคนมีหนังสืออ่าน
3.มีหนังสือทุกเล่มให้อ่าน
4.ประหยัดเวลาของผู้อ่าน
5.เป็นสถาบันที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ต่อมา Gorman ได้นำปรัชญาข้างต้นมาปรับปรุงจนได้ปรัชญาที่ชื่อว่า Gorman Librarianship โดยมีหัวข้อดังนี้
1.มีไว้เพื่อบริการมนุษยชาติ
2.ยอมรับการสื่อสารทุกรูปแบบ
3.ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดเพื่อส่งเสริมการบริการ
4.เปิดเสรีในการเข้าถึงความรู้
5.เคารพสิ่งที่ผ่านมา และสร้างนาคตให้ดีขึ้น
โดยหลักการทั้งหมดมีไว้เพื่อเป็นการบริการผู้ใช้ และพัฒนาห้องสมุดให้มีการพัฒนา และเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของห้องสมุด
ประเภทการบริการห้องสมุด
การบริการห้องสมุดสามารถแบ่งได้ 3 รูปแบบดังนี้
1.บริการพื้นฐาน เป็นการบริการขั้นบังคับของห้องสมุด เมื่อได้ทำการบริการห้องสมุดแล้วต้องมี จะประกอบไปด้วย
การบริการผู้อ่าน เป็น การอำนวยความสะดวกในการเข้าไปใช้บริการห้องสมุด ให้ผู้ใช้บริการเกิดความสะดวกสบายขึ้น เช่น มีโต๊ะและเก้าอี้ไว้อ่านหนังสือหรือค้นหาข้อมูลต่างๆ หนังสือหรือสารสนเทศที่เตรียมพร้อมในการให้บริการอยู่เสมอ รวมไปถึงมีเครื่องปรับอากาศเพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เป็นต้น
การบริการยืม-คืน เป็นการบริการ ที่จะนำสารสนเทศต่างๆ ออกจากห้องสมุด เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้สารสนเทศตามที่ตนเองต้องการ โดยมีการบันทึกและการติดตามสารสนเทศที่นำออกมาไปได้
2.บริการอ้างอิงสารสนเทศ เป็นงานที่มาคอยสนับสนุนผู้ใช้งาน ในการหาสารสนเทศที่ตนเองต้องการ สามารถแบ่งลักษณะของบริการด้านนี้ ดังต่อไปนี้
บริการสารสนเทศ จะ เป็นงานบริการลักษณะที่เป็นพื้นฐานของห้องสมุด เช่น บริการการยืมคืนระหว่างห้องสมุด การจัดระเบียบสารสนเทศต่างๆ การสำเนา รวมไปถึง การให้นำแนะนำ ตอบคำถาม หรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ
บริการสอนการใช้ สอน ผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์ การบริการสอน การแนะนำการใช้งานและค้นคว้าสารสนเทศในห้องสมุดเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม รวมไปถึงการนำชมห้องสมุดก็ถือว่าเป็น บริการสอนการใช้ด้วย
บริการแนะนำ บริการ แนะนำจะมีความคล้ายกับบริการสอนการใช้ แต่มีความแตกต่างคือ จะเน้นในการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน แนะนำการทำรายงาน หรืองานวิจัยต่างๆที่สารสนเทศเข้ามาผลต่อการนำงานด้วย ห้องสมุดต้องบริการด้านนี้ด้วย รวมไปถึงพัฒนาความคิด และอารมณ์ให้เป็นมนุษย์ที่มีคุณภาพ และเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีพ
3.บริการเฉพาะ เป็น การบริการสารสนเทศในห้องสมุดให้กับกลุ่มคนเฉพาะกลุ่มที่อาจติดปัญหาในการสืบ ค้นสารสนเทศต่างๆ ห้องสมุดต้องมีการบริการด้านนี้ไว้ เพื่อสร้างความประทับใจให้กับคนกลุ่มนี้ และคนกลุ่มเฉพาะทางเหล่านี้ก็มีความต้องการที่ต่างกัน ห้องสมุดจะต้องพัฒนาการบริการเหล่านี้ให้ตอบสนองคนเหล่าได้เป็นอย่างดี กลุ่มเฉพาะเหล่าก็ เช่น กลุ่มด้อยโอกาส กลุ่มเด็ก กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น