วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืม-คืน/จ่าย-รับ และการจัดการห้องสมุด (สรุปการเรียน 26/06/11)

บริการยืม-คืน/จ่าย-รับ
            บริการยืม-คืนถือเป็นบริการขั้นพื้นฐานของห้องสมุดที่จะต้องมี โดยเป้าหมายหลักของบริการยืมคืน ก็คือ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ และนำสารสนเทศนั้นไปศึกษาค้นคว้านอกห้องสมุดได้ ซึ่งการยืม-คืนนั้น ก็มีหลักปรัชญาที่สำคัญดังนี้
                ต้องให้ความเท่าเทียม และเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุด เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศอย่างเป็นธรรมและทั่วถึงกัน โดยกำหนดนโยบาย และระเบียบ เพื่อให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด โดยปรับปรุงการเข้าถึงสารสนเทได้ง่ายที่สุด ซึ่งจะต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดมาช่วย เพื่อให้ได้ทรัพยากรสานสนเทศล่าสุด มาบริการผู้ใช้ให้เร็วที่สุดด้วย

บทบาทหน้าที่ ของการยืม-คืน
            1. การควบคุมงานบริการยืม-คืน ซึ่งเป็นบริการพื้นฐานของห้องสมุดที่ด้วยมี โดยมีเป้าหมายคือ ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ มีความเท่าเทียมกัน และตอบสนองความต้องการมีสารสนเทศไว้ในมือ ที่กันว่าความเท่าเทียมในการใช้ (Fair Use)
            2. การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด งานบริการยืม-คืน เป็นบริการแรกที่ผู้ใช้เข้ามาติดต่อ และเข้ามาหาโดยผู้ใช้จะเป็นผู้ตัดสินคุณภาพของการบริการห้องสมุดได้ โดยผู้ใช้จะมองจากความพึงพอใจของผู้ใช้งาน และเป็นแหล่งประชาสัมพันธ์ของชุมชนเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับผู้ใช้งานด้วย ซึ่งการประชาสัมพันธ์ในห้องสมุดที่ผู้ใช้ต้องการก็คือ
                - ผู้ให้บริการจะต้องมีจุดบริการให้กับผู้ใช้ทั้งหมด เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการที่เข้ามาใช้งานซึ่งมักจะมีปัญหาในการใช้งานอยู่เสมอ
                - ผู้ใช้บริการมีความคาดหวังว่า เจ้าหน้าที่ห้องสมุดต้องทราบทุกๆเรื่อง เนื่องจากผู้ใช้ไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่คนไหนคือบรรณารักษ์ จึงทำให้ผู้ใช้ไม่ทราบจะไปติดต่อบรรณารักษ์ได้ที่ไหน เลยจึงต้องไปที่บริการยืม-คืนอยู่เสมอ
                โดยที่การประชาสัมพันธ์ที่ไม่ดี หรือการบริการไม่พึงพอใจ อาจจะให้เกิดสาเหตุที่ไม่พอใจในการใช้ห้องสมุดจนไม่กลับมากใช้บริการอีกต่อไปก็ได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ใช้ไม่พอใจในการบริการเป็นอันดับแรกๆมีดังต่อไปนี้ คือ
- ผู้ใช้หาสิ่งที่ต้องการไม่ได้                                                                              
                - ค่าปรับ
       - ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดการส่ง หรือแจ้งเตือนการส่งช้า                        
- ร้อนหรือเย็นเกินไป
        - ระยะเวลาในการยืมสั้น                                                                                
        - จำกัดครั้งการยืมต่อ
        - ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษ์                                                          
 - เสียงรบกวน
        - เครื่องสำเนาเอกสาร คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ต่างๆไม่ทำงาน                        
               
ค่าปรับ
            เป็นค่าใช่จ่ายในกรณีที่ส่งคืนทรัพยากรสารสนเทศไม่ตรงเวลา โดยมีวัตถุประสงค์คือ เป็นกระจายการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้ผู้อื่น เพื่อเพิ่มการมีความรับผิดชอบ และกระตุ้นให้มีการส่งคืนตามเวลาที่กำหนด ซึ่งแต่ละห้องสมุดมักจะมีการกำหนดค่าปรับที่แตกต่างกัน ตามระยะเวลา ความสำคัญของสารสนเทศแต่ละประเภท ซึ่งห้องสมุดควรส่งเอกสารแจ้งเตือนวันส่งด้วย ซึ่งห้องสมุดจะต้องใช้การจัดการในการปรับด้วย เช่น มีการยกเว้น และผ่อนผันได้ หากไม่มีการส่งคืน และการจ่ายค่าปรับจะทำให้สิทธิการใช้ห้องสมุดถูกระงับ และรวมไปถึงการระงับการสำเร็จการศึกษาได้ในกรณีของห้องสมุดมหาวิทยาลัย โดยการจ่ายค่าปรับนั้นก็สามารถจ่ายได้หลายวิธี เช่นจ่ายที่บริการยืมคืน หรือจ่ายผ่านระบบอัตโนมัติ โดยคิดตามสภาพหนังสือ ความเสียหาย หรือค่าดำเนินการต่างๆในกรณีทำหายเป็นต้น ซึ่งก็จะลักษณะที่คล้ายกันกับค่าสมาชิก หรือค่าธรรมเนียมต่างๆที่มีอยู่แล้วในห้องสมุด
                นอกจากนี้งานบริการห้องสมุด จะมีงานในส่วนของการจัดชั้นหนังสือต่างๆให้ถูกต้องการหลักการจัดชั้น และปรับเปลี่ยนนำสารสนเทศใหม่ที่สุดขึ้นชั้นให้ไวที่สุดด้วย การดูแลรักษาให้มีสภาพพร้อมใช้งานและใหม่อยู่เสมอ การรักษาความปลอดภัยของทรัพยากรสารสนเทศ และผู้ใช้บริการ โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยตามลักษณะของห้องสมุด และการจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้ เพื่อจำแนกว่าใครบ้างมีสิทธิ์ยืมทรัพยากรสารสนเทศ หรือมีสิทธิ์ใช้บริการของสถาบันสารสนเทศ โดยมีข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการติดต่อ หรือติดตามต่างๆ หรือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้คนนั้นๆได้

เทคโนโลยีที่มีการนำมาใช้ในบริการยืม-คืน
           1. เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode) เป็นการกำหนดรหัสในรูปแบบแถบสีขาว-ดำ แตกต่างด้วยความกว้างแถบตัวเลขใช้สำหรับงานยืม คืน งานทะเบียนผู้ใช้ เป็นต้น
           2. คิวอาร์โค๊ด (QR Code, 2D Barcode) เป็นเทคโนโลยีระหว่างรหัสแถบ และเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี สามารถทำได้ในห้องสมุดเอง โดยการนำมาใช้จะต้องจัดทำบาร์โค๊ด 2 มิติ 2 ดวง โดยดวงที่ 1 เพื่อทำการจัดเก็บเฉพาะข้อมูลทาง บรรณานุกรมของหนังสือ และดวงที่ 2 เพื่อใช้ทำการยืมคืนหนังสือ ซึ่งสามารถอ่านค่าได้จากอุปกรณ์ที่สามารถอ่านคิวอาร์โค๊ดได้ โอยคิวอาร์โค๊ดเก็บข้อมูลได้มากกว่ารหัสแถบถึง 200 เท่า สามารถบรรจุข้อความได้หลายภาษา
            3. เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identify - RFID) เป็นการใช้คลื่นวิทยุ เพื่อระบุอัตลักษณ์วัตถุที่ติดป้ายอาร์เอฟไอดี แทนการระบุด้วยวิธีอื่น เพื่อนำไปใช้งานแทนระบบรหัสแถบ เนื่องจากการอ่านข้อมูลจากระยะไกลได้และอ่านได้ครั้งละมากๆ ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถอ่านข้อมูลได้โดยวัตถุนั้นไม่ต้องอยู่ในแนวระดับที่มองเห็น อ่านข้อมูลผ่านวัตถุหรือสิ่งกีดขวาง อ่านข้อมูลของวัตถุทั้งหมดที่อยู่ในรัศมีการอ่านได้ในครั้งเดียวทั้งหมดก็เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งสามรถเป็นประเภทของ เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ได้ดังนี้
3.1. Active Tag มีแหล่งพลังงานขนาดเล็ก หรือแบตเตอรี่ในตัวสามารถส่งข้อมูลด้วยความถี่ ได้ด้วยตนเอง
                    สามารถส่งข้อมูลได้ไกล
                    ราคาสูง
                    มีอายุการใช้งานจำกัด (ขึ้นกับแบตเตอรี่)
3.2. Passive Tag ไม่มีแหล่งพลังงาน หรือแบตเตอรี่ในตัว
                    ต้องการพลังงาน หรือการกระตุ้นด้วยความถี่วิทยุจาก Reader
                    ราคาถูก
                                                  ราคาถูกไม่จำกัดอายุการใช้งาน 100,000 ครั้ง


การจัดการในห้องสมุด
            ลักษณะของการจัดจัดการห้องสมุดแบ่งตามลักษณะของห้องสมุดดังนี้ คือ
            1. ห้องสมุดขนาดเล็ก บรรณารักษ์ทำหน้าที่ดูแลงานและเจ้าหน้าที่ กำหนดนโยบายการดำเนินงาน กฎระเบียบ และแนะนำดูแลการทำงานของเจ้าหน้าที่
2. ห้องสมุดขนาดใหญ่ มีหัวหน้าแผนก (Department Head) ดูแลบรรณารักษ์ โดยบรรณารักษ์ดูแลงานด้านการจัดการ
3. ห้องสมุดขนาดใหญ่มาก จะมีหัวหน้างาน (Circulation Chief) ดูแล ภายใต้การควบคุมของผู้ช่วยบรรณารักษ์ (assistant librarian) และหัวหน้าบรรณารักษ์ที่ทำหน้าที่ดูแล (Division Supervisor)

ความรู้และทักษะที่ต้องการในการจัดการห้องสมุดสำหรับบุคคลากรในห้องสมุด
        1. มีใจรักในงานบริการ มีความอดทนสูง เนื่องจากผู้ใช้มักมีลักษณะนิสัยต่างกันการให้บริการจึงต่างกันไป
        2. มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้บริการ เพราะผู้ใช้คาดว่าจะได้ในสิ่งคาดหวังไว้
3. มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล OPAC
4 .มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อบริการผู้ใช้ที่แตกต่างกันเพื่อให้รับความพึงพอใจมากที่สุด
5. มีมนุษยสัมพันธ์ดีในการให้บริการ
6. สามารถให้ความถูกต้องแก่ผู้ใช้ได้
7. มีความยืดหยุ่นในการให้บริการ
8. มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งความน่าเชื่อถือนี้จะช่วยทำให้ผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่น และมั่นใจในการบริการ และสารสนเทศที่ได้รับ

การจัดการบุคลากรในการบริการห้องสมุด
            1. ต้องให้ความสำคัญในการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญไปยังผู้ที่เริ่มงานใหม่ โดยมีพี่เลี้ยงคอยแนะนำงานอยู่เสมออย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว
2. มีลักษณะที่พร้อมจะทำงานอยู่เสมอ
3. ในการทำงานของห้องสมุดนั้น มิใช่มีเพียงงานที่โต๊ะอย่างเดียว แต่มีงานบริการอื่นๆด้วย เช่น การบริการผู้ใช้ หรือการจัดเก็บหนังสือ เป็นต้น


วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ห้องสมุดและการตกแต่ง : แนวคิดการออกแบบและการใช้งาน จาก CLM : Bannapanya' Blog : บรรณปัญญา สารสนเทศการเรียนรู้

ห้องสมุดและการตกแต่ง : แนวคิดการออกแบบและการใช้งาน

        ความคิดนี้แว๊บขึ้นมาเมื่อวันรับปริญญา ของมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ผอ.ได้จัดซุ้มในห้องสมุดให้บัณฑิตที่รับปริญญาในปีนี้  ยังออกปากพูดเลยว่าห้องสมุดวันนี้มองดูแล้วเหมือนห้างสรรพสินค้ายังไงยัง งั้น  เหมือนกับวันนี้ห้องสมุดได้เปิดมุมมองของการเป็นห้างสรรพสินค้าหรือสตูดิโอ ถ่ายภาพได้เลย  แลบรรยากาศก็คึกคัก และมีความสุขกันทุกคน ซึ่งหากเป็นการใช้ห้องสมุดในเวลาปกติ  สีหน้าจะเป็นอีกอารมณ์ซึ่งแตกต่างกันมาก  หากห้องสมุดบ้านเราเป็นอย่างนี้ได้ก็คงจะไม่น้อย  และจะสามารถตอบโจทย์ของการเป็นห้องสมุดมีชีวิตได้เป็นอย่างดีทีเดียว  เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตและมีบรรยากาศไปตามสถานการณ์ของสถานที่แห่งนั้น  และสามารถปรับตัวให้รับกับสถานการณ์ได้ทุกสถานการณ์   และหากบุคลากรมีแนวคิดเปิดกลางด้วยเปิดกลาวงและมีความรู้ ความชำนาญเฉพาะเรื่องด้วย  จะช่วยส่งเสริมการจัดห้องสมุดให้มีชีวิตมากยิ่งขึ้น    
          อย่าง วันปริญญาของบัณฑิต  พวกเขาสามารถ ใช้สถานที่นี้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกได้ มีซุ้มที่สื่อถือสัญลักษณ์ของห้องสมุด คือเป็นแถบบาร์โค้ด  และมีตัวเลขบอกวัน เดือนปี ที่รับปริญญา ให้ได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก  และยังมีองตค์ประกอบแปลก ๆ ที่อาจหาไม่ได้ในสถานที่ทั่วไปมาประกอบฉากได้ด้วย              นอกจากจะออกแบบห้องสมุดให้เอื้อต่อการศึกษาค้นคว้าหาความรู้แล้ว  มาดูกัน ค่ะว่าอาคารห้องสมุดยุคใหม่มีการออกแบบอย่างไรจึงจะสามารถตอบสนองต่อความ รู้สึกอยากจะเข้ามาใช้บริการได้มากยิ่งขึ้นกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคปัจจุบัน  
  อาจารย์ น้ำทิพย์  วิภาวิน ได้กล่าวว่า การออกแบบควรมีการผสมผสานบรรยากาศของ 3 สถานที่ในชีวิตของคนเรามาไว้ในสถานที่เดียวกัน  เพื่อสร้างความรู้สึกสบาย ๆ  คือ เหมือนการใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน ร่วมกับสถานศึกษาและศูนย์การค้า ก่อให้เกิดบรรยากาศที่ส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น ประกอบด้วย     
  1.ห้องประชุมเล็กหรือใหญ่ สำหรับการพบปะ ประชุมปรึกษาหารือของคนในชุมชน
 
2. มีห้องพักผ่อน ที่จัดบริการห้องอ่านวารสาร นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ที่มีบรรยากาศสบาย ๆ                  
 3. มีมุมเครื่องดื่มและกาแฟ                   
 4. มีพื้นที่สำหรับการอ่าน ที่มีโต๊ะ เก้าอี้สำหรับนั่งอ่านสบายๆ              
5. มีพื้นที่ที่สามารถใช้เสียงได้ แยกออกเป็นพื้นที่ต่างหาก     
             
 6. มีห้องสำหนับการอ่านและการศึกษาที่เงียบสงบ และห้องสำหรับการศึกษาแบบเป็นกลุ่ม                  
 7. ขยายมุมสำหรับเด็กและเยาวชนให้กว้างขึ้น          
        
8. ขยายพื้นที่สำหรับทรัพยากรสารสนเทศเพื่อการค้นคว้า     
9. ขยายพื้นที่สำหรับการจัดบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น มีห้องบริการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต       
10.จัดสภาพแวดล้อมที่สวยงาม มีที่นั่งในลักษณะต่าง ๆ ไว้หลายรูปแบบ และบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ    และแทรกซึมและส่งผลทุกที่  ดังนั้น ห้องสมุดเป็นหน่วยงานที่ไม่เคยตกยุคจึงเห็นความสำคัญของเรื่องนี้  

ดังมีตัวอย่าง ของการออกแบบห้องสมุดที่เน้นห้องสมุดสีเขียว เช่น LEED หรือ (Leadership in Energy and Environmental Design) เป็นโปรแกรมที่ได้รับการรับรองในเรื่องของการออกแบบ การก่อสร้างและการดำเนินงานเกี่ยวกับอาคารสีเขียว เช่น  อาคารรัฐสภาของสหรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.  เป็นต้น    
 โดยการออกแบบอาคารนั้นจะเน้น เรื่อง     
    * ด้านภูมิศาสตร์ ผนังกระจกจะออกแบบหน้าต่างให้สามารถรับแสงจากธรรมชาติได้ตลอดวัน ส่งผลให้ห้องสมุดรู้สึกอบอุ่นและเป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น  และจะเน้นการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศท้องถิ่นแทนที่จะเป็นแบบ one – design –fits ซึ่งเหมาะกับห้องสมุดทุกแห่งแทน 
 
แต่ปัจจุบันก์ มีแนวโน้มของการออกแบบห้องสมุด จะเน้นเรื่อง Green library หรือห้องสมุดสีเขียว เป็นการออกแบบที่มีแนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นเพราะภาวะของโลกร้อนที่กำลังคุกคามอยู่ทุกขณะ * ชั้นเก็บหนังสือจะไม่อยู่ในส่วนของด้านหน้าหรือส่วนกลางของอาคาร  แต่จะจัดเก็บในพื้นที่ที่เข้าถึงไม่ง่ายนัก เมื่อเข้าใช้ห้องสมุด แต่จะพบชั้นที่เก็บแผ่นดิสก์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนเป็นเหมือนกับห้อง สมุดเสมือนเพิ่มขึ้น
    * งานด้านเทคนิค เช่น การลงรายการ การประมวลผลและการบำรุงรักษาฐานข้อมูลเป็นส่วนย่อยของห้องสมุด และมีพื้นที่ในการทำงานลดลงและอาจจะหายไปจากห้องสมุดก็เป็นไปได้
    * ทางเข้าห้องสมุดจะเป็นสิ่งที่สำคัญและยิ่งใหญ่มาก ตัวอย่างของห้องสมุดของมหาวิทยาลัยฟลอริดา  ผู้เข้าใช้สามารถเดินขึ้นบันไดหรือใช้ลิฟต์เพื่อเข้าไปในห้องสมุด
    * แต่ลักษณะโดยรวมเห็นได้ชัดว่าการออกแบบห้องสมุดให้ความสนใจในเรื่องของการ เพิ่มความสะดวกสบายของผู้ใช้เป็นหลัก รวมถึงมีจำนวนมากที่นั่งหลากหลาย มีแสงจากธรรมชาติ  มีที่นั่งใกล้หน้าต่างกว้าง 
      



ขอบคุณ

 http://clm.wu.ac.th/wordpress/?p=426

เอื้อเฟื้อข้อมูล