วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีในการยืม-คืน และการบริการการตอบคำถาม (สรุปการเรียน 10/07/11)

เทคโนโลยีในการยืม-คืน
บัตรสมาชิก
1.บัตรพลาสติก ส่วนใหญ่ใช้ในห้องสมุดประชาชน หรือใช้สำหรับเด็กเป็นบัตรพลาสติกธรรมดา แต่มีสีสันสวยงาม เพื่อดึงดูใจให้ใช้งาน เท่านั้น
2.บัตรติดแถบแม่เหล็ก มี 2 ชนิด คือ
2.1.บัตรที่เกี่ยวกับการเงิน เป็นบัตรที่มีการใช้อย่างกว้างขวาง เช่น บัตรสมาชิก บัตรเข้าออก-เข้าสถานที่  บัตรจอดรถ บัตรเก็บข้อมูล
2.2.บัตรที่เกี่ยวกับการเงิน การใช้งานจะประกอบด้วยระบบการป้องกันระดับสูง มีการเข้ารหัส การใช้งาน เช่น บัตรธนาคารเบิกเงินสด (ATM) บัตรเดบิต บัตรวีซ่า และมาสเตอร์การ์ด แบบไม่ติด Chip
3.บัตรติดรหัสแถบ ใช้ในการยืมคืน หรือสามารถเข้าและ ยืมคืนได้
4.บัตรอัจฉริยะ มีหลากหลายรูปแบบมีทั้งชิพ รหัสแถบ หรือบาร์โค๊ด ซึ่งแบ่งการทำงานได้ 3 รูปแบบ ดังนี้
4.1.บัตรทำงานแบบสัมผัส บัตรนี้การทำงานต้อง นำตัวชิพที่ด้านหน้าบัตรเข้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออ่านค่า (EDC-Electronic Debit Card) การทำงาน บัตรนี้เหมาะสำหรับงานที่เก็บข้อมูลจำนวนมาก และต้องการความปลอดภัยสูง เช่น บัตรเครดิต บัตรประชาชน ใบขับขี่ ฯลฯ
4.2.บัตรทำงานแบบไม่สัมผัส คือบัตรที่ผสมผสานการทำงานของ RFID เข้าไป ภายในตัวบัตรจะประกอบด้วยชิพและเสาอากาศ (Antenna) เพื่อใช้ในการสื่อสาร บัตรประเภทนี้ เช่น บัตรเข้า ออกสถานที่ บัตรเดินทางรถไฟฟ้า บัตรสมาชิก เป็นต้น
4.3.บัตรทำงานแบบผสม คือบัตรที่ทำงานได้ทั้งระบบสัมผัสและไม่สัมผัส ให้การใช้งาน สะดวก และรวดเร็ว มากขึ้น ปัจจุบันมีการใช้งานในระบบ การชำระเงิน และอุตสาหกรรมความปลอดภัยเช่น บัตรประชาชน บัตรเงินสด
ประเภทของสมาร์ท การ์ด ตามรูปแบบการใช้งาน แบ่ง เป็น 3 ประเภท คือ
1.คอนแทค สมาร์ท การ์ด นำสมาร์ท การ์ด ไปรูดที่เครื่องอ่านสมาร์ท การ์ด เพื่ออ่านข้อมูลจากชิพ
2.คอนแทคเลส สมาร์ท การ์ด นำสมาร์ท การ์ด ไปอ่านที่เครื่องอ่านสมาร์ท การ์ด (ให้ตำแหน่งของชิพอยู่ตั้งฉากกับเครื่องอ่านแต่ไม่จำเป็นต้องวางแนบกับเครื่องอ่าน หรือเรียกว่า "อ่านแบบหน้าสัมผัส" เพื่ออ่านข้อมูลจากชิพไปใช้งาน
3.ไวร์เลส สมาร์ท การ์ด เวลาใช้งานจะต้องนำสมาร์ท การ์ด ไปอ่านที่เครื่องอ่านสมาร์ท การ์ด โดยอาศัยคลื่นวิทยุในการติดต่อสื่อสาร แต่จะสามารถทำงานได้ภายในระยะที่กำหนด เพื่ออ่านข้อมูลจากชิพไปใช้งาน 

บริการตอบคำถาม
บริการตอบคำถาม เป็นบริการที่จะให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ ที่ตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล และได้สารสนเทศอย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ใช้ไม่ทราบระบบต่างๆของห้องสมุดเลยแม้แต่น้อย หรือไม่เพียงพอที่จะใช้งานได้ด้วยตนเอง
โดยความสำคัญของการบริการตอบคำถามก็คือ บริการได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และสนับสนุนการใช้ห้องสมุด เพื่อประหยัดเวลาในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างห้องสมุดและผู้ใช้ เนื่องจากมีคนคอยดูแลและช่วยเหลือให้กับผู้ใช้งาน
ซึ่งหน้าที่ของการบริการตอบคำถาม คือ แสวงหาสารสนเทศที่มีความต้องการเฉพาะทาง และช่วยเหลือให้ผู้ใช้สามารถค้นหาสารสนเทศได้ด้วยตนเอง พร้อมทั้งสอนผู้ใช้ให้สามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดและการค้นคว้าได้ด้วยตนเอง โดยระดับการบริการการตอบคำถามนั้นแบ่งตามประเภทของห้องสมุดได้ดังนี้
ห้องสมุดเฉพาะ สามารถตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว (ได้สารสนเทศที่ต้องการและรวดเร็ว) เนื่องจากผู้ใช้รู้ในสิ่งที่ต้องการอยู่แล้วแต่หาไม่ได้ หรือไม่มีเวลาพอที่จะทำการค้นหา
ห้องสมุดโรงเรียน จะบริการการตอบคำถาม และเน้นในส่วนของการสอนวิธีใช้ เพื่อให้รู้สารสนเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กนักเรียน
ห้องสมุดประชาชน ช่วยในการหาสารสนเทศที่ต้องการ และพัฒนาการสืบค้น เนื่องจากมีผู้ใช้งานหลายวัย และหลายกลุ่มการศึกษา
ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ต้องตอบคำถามได้อย่างรวดเร็ว ช่วยค้นสารสนเทศที่ต้องการ และมีการสอนการใช้งานห้องสมุด (ทักษะการสืบค้น)
ซึ่งบริการช่วยนี้ จะทำให้ผู้ใช้ได้ข้อมูล และสารสนเทศเฉพาะตามต้องการ โดยจะมีบรรณารักษ์อ้างอิง บริการที่โต๊ะบริการตอบคำถามในห้องสมุด หรือส่วนของยืม-คืน เสมอ โดยคำถามที่ผู้ใช้มักจะถามสามารถสรุปประเภทของคำถามในการอ้างอิงได้ ดังนี้
1.คำถามโดยตรงหรือข้อแนะนำ (Directional Question) มักจะเป็นคำถามสั้นๆที่ต้องการคำตอบได้ทันที เช่น การถามหนังสือชนิดต่างๆว่ามีในห้องสมุดหรือไม่ เป็นต้น
2.คำถามที่ต้องการข้อเท็จจริง (Ready Reference Question) มักเป็นคำถามที่ต้องการข้อมูลในจำนวนไม่มาก และได้คำตอบที่ต้องการภายใน 5 นาที เช่น ต้องการข้อมูลในการทำรายงาน หรือคำตอบในหลักวิชาการต่างๆ
3.คำถามที่ต้องการค้นคว้าข้อเท็จจริง (Specific search Question) มักจะเป็นคำถามที่ต้องการที่ใช้ในการค้นคว้าหาข้อสรุปต่างๆ เช่น ต้องการเอกสารปัญหาการอพยพมาทำงานของชาวพม่าในไทย
4.คำถามที่ต้องอาศัยการค้นคว้าวิจัย (Research Question)  มักจะเป็นคำถามที่ต้องใช้จำนวนข้อมูลมากเพื่อจะใช้ในการค้นคว้าข้อมูลต่างๆ เพื่อทำงานวิจัย เช่น ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศในระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย

ประเภทของการบริการการตอบคำถาม แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
บริการโดยตรง จะเป็นบริการที่บรรณารักษ์จะออกไปตอบคำถามกับผู้ใช้โดยตรง รวมถึงการสอนการใช้งานโดยตรง ซึ่งจะไม่รวมการสอนการใช้ที่จัดโดยห้องสมุด หรือออกไปให้บริการในห้องเรียน       
บริการทางอ้อม จะเป็นงานที่บรรณารักษ์เตรียมดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริการ เช่น
การเลือกและการจัดหา (Selection & Acquisition)                                                                  
การบริหารและการจัดดำเนินการ (Organization & Administration)   งานจัดการ วางระบบการทำงาน การจัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ บุคคลากร ตลอดจนการประสานงานร่วมกับองค์การสถาบันต่างๆ เช่น การจัดทำตารางงานการอยู่ประจำตอบคำถาม การจัดแบ่งงาน  การเตรียมวัสดุอุปกรณ์  งบประมาณ และ จัดเตรียมทรัพยากรให้พร้อม และสะดวกในการค้นหา
การจัดหาวิธีทาง (Access) การจัดเตรียมหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ  ทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ และ สื่ออิเล็กทรอนิกส์  ฐานข้อมูล พัฒนาทรัพยากรอ้างอิง จัดทำเครื่องมือ คู่มือ อำนวยการให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือในการให้บริการ ติดต่อประสานงานระหว่างสถาบัน องค์กร
การประชาสัมพันธ์ (Public Relation)                                                                                 
การประเมินผล (Evaluation) ประเมินการดำเนินงาน การปฏิบัติงาน
หน้าที่อื่นๆ (Miscellaneous Tasks) งานประจำเพื่อช่วยการทำงาน และงานดูแลรักษา เช่น บันทึกคำถาม
ซึ่งในปัจจุบันนั้นบริการการตอบคำถาม จะเป็นการบริการในแบบออนไลน์ หรือระบบเสมือน ซึ่งสามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ เพื่อเข้ารับการบริการซึ่งบรรณารักษ์จะต้องจัดสิ่งเหล่านี้เพื่อจะต้องรองรับการใช้งานเหล่านี้ได้ ซึ่งสามารถแบ่งการใช้งานได้ 3 ประเภท คือ
บริการ E-mail ซึ่งผู้ใช้สามารถทิ้งคำถามไว้ แล้วบรรณารักษ์จะเป็นผู้ตอบ ซึ่งจะไม่สามารถโต้ตอบได้ในทันที

บริการ Chat ซึ่งเป็นการสื่อสารที่นิยมและมีหลายรูปแบบ ทั้งภาพ และเสียง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง และสามารถโต้ตอบได้ทันที ซึ่งมีหลายโปรแกรม เช่น Online Chat ที่มีลักษณะคล้ายกับ Customer Service ของเว็บไซต์ใหญ่ๆ ทั่วไป เช่น LiveAgent, Live Person และ Integrated Online IM อย่าง Meebo ที่มี Widget ให้ห้องสมุดสามารถติดตั้งไว้บนเว็บไซต์ของตัวเอง ซึ่งเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเพราะมี function พื้นฐานที่เพียงพอต่อการให้บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้า และผู้ใช้สามารถเป็น Anonymous ได้ (คือผู้ใช้ที่ไม่ต้องการให้ผู้ให้บริการทราบว่า ตัวเองเป็นใคร) ซึ่งจะช่วยให้คนที่ไม่กล้าสอบถาม ก็กล้าที่จะถามง่ายๆ ได้มากขึ้น หรือห้องสมุดเสมือนจริง หรือที่เรียกว่า Second life ที่ผู้ใช้สามรถสร้างตัวละครของตนเองที่เข้าไปใช้งานได้อย่างง่ายดาย และสะดวกที่จะถามหรือตอบคำถามต่างๆ จากส่วนใดก็ได้ของโลกถ้ามีอินเตอร์เน็ต 
ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด เป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ในการตอบคำถามในกรณีที่ห้องสมุดของตนเอง มีข้อมูลให้กับผู้ใช้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ได้ ซึ่งข้อดีก็คือ สามารถให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ตลอดเวลาผ่านเครือข่ายห้องสมุดต่างๆที่มีอยู่ทั่วโลกโดยมีบรรณารักษ์จะเป็นผู้คอยให้บริการ
               ซึงในปัจจุบันนั้น ห้องสมุดส่วนใหญ่จะมีการบริการในการตอบคำถามผ่านในเว็บไซต์โดยจะระบุช่องทางการติดต่อสื่อสารเอาที่หน้าเว็บไซต์ทุกหน้า เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อได้อย่างสะดวก


ขอขอบคุณภาพประกอบทั้งหมดจาก Slide ประกอบการสอนวิชา 023707 เรื่องบริการการตอบคำถาม วันที่ 10/07/54 ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น