วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้ (สรุปการเรียนวันที่ 17/07/54)

บริการสอนการใช้
                บริการสอนการใช้เป็นบริการการสอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นบัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์ มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการ คือ ให้ผู้ใช้มีการรับรู้สารสนเทศ ซึ่งสมาคมห้องสมุดอเมริกันถือว่า บริการสอนการใช้เป็นหลักการแรกในการให้บริการ เนื่องจากในปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ห้องสมุดต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบและสอนกรใช้อยู่ตลอดเวลา
                โดยปรัชญาของบริการสอนการใช้ ก็คือ ช่วยให้ผู้ใช่สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ผู้ใช้ต้องมีการรับรู้สารสนเทศ ซึ่งบริการการสอนการใช้จะทำให้ผู้ใช้ได้รับรู้สารสนเทศซึ่งมีความสำคัญ คือ ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของมนุษย์ ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมถึงการพัฒนาประเทศสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ในสังคมใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว                                                                                                                                                                     
             โดยการที่จะให้เกิดการรับรู้การใช้นั้น ก็จะต้องมีการสอนการใช้โดยการสอนการใช้ อาจจะต้องมีการปฏิรูปการศึกษาด้วย โดยที่การปฏิรูปการศึกษามีวัตถุประสงค์คือ ต้องการให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เน้นการพัฒนาคนให้ได้รับการศึกษาสูงขึ้นเน้นกระบวนการคิด และห้องสมุดต่างๆจะต้องเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทักษะในการพัฒนามนุษย์ โดยในแต่ละประเทศก็จะมีแผนการดำเนินงานให้คนในประเทศนั้นๆที่แตกต่างกัน โดยในประเทศต้องการให้คนในประเทศนั้นมีทักษะการใช้เทคโนโลยี และการสื่อสาร การรับรู้สารสนเทศ 75% และรู้ทันสื่อและข่าวสาร โดยต้องเริ่มตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้มีทักษะการรู้สารสนเทศ                                                                                                                                                          
            ซึ่งในห้องสมุดมีบทบาทในการสอนการรู้สารสนเทศ ทั้งอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ โดยบรรณารักษ์มีบทบาทในฐานะผู้สอนวิชาการรู้สารสนเทศ โดย ผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีทักษะในด้านสารสนเทศ ดังนี้
1.       มีความตระหนักว่าสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ และสารสนเทศที่ถูกต้องจะช่วยให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
2.       มีความสามารถและรู้ว่าจะได้สารสนเทศจากที่ใด และจะสืบค้นสารสนเทศได้อย่างไร
3.       มีความสามารถในการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศในฐานะเป็นผู้บริโภคสารสนเทศที่มีวิจารณญาณ
4.       มีความสามารถในการประมวลสารสนเทศกล่าวคือสามารถในการคิดและการวิเคราะห์สารสนเทศ
5.       มีความสามารถในการใช้และสื่อสารสารสนเทศให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.       มีทักษะอื่นที่เกี่ยวข้องกับการรู้สารสนเทศ เช่น การรู้คอมพิวเตอร์ การรู้เทคโนโลยีและการสื่อสาร
โดยความรู้ยุคดิจิทัลประกอบด้วย ทักษะดังนี้
1.       Basic literacy  มีความรู้ ทักษะด้านภาษา ได้แก่ การอ่าน การเขียน การพูด และการฟัง
2.       Visual literacy  มีความรู้เรื่องสื่อภาพ เสียง เพื่อความสามารถในกรสื่อสารยุคสารสนเทศ
3.       Media literacy  เข้าใจรูปแบบการเสนอสื่อ การวิเคราะห์
4.       Digital literacy  มีความรู้เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ ใช้เครือข่ายและสามารถประยุกต์การใช้งาน
5.       Network literacy  มีความรู้ การเข้าใจในระบบเครือข่าย
6.       Cultural literacy  มีความรู้ การเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรม
โดยวัตถุประสงค์บริการสอนการใช้ห้องสมุด มีดังต่อไปนี้
1.       สามารถทำให้ผู้ใช้เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศ
2.       สามารถนำความต้องการของสารสนเทศไปสร้างคำถาม คำหลัก และพัฒนากลยุทธ์การสืบค้นได้
3.       ผู้ใช้สามารถเลือก และสามารถเข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการได้รวมถึงมีความสามารถในการประเมินสารสนเทศ และแหล่งสารสนเทศ
4.       ผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศมาพัฒนาองค์ความรู้เดิมและประยุกต์ใช้กับงานในสถานการณ์ต่างๆได้
ลักษณะการจัดการบริการ มี 2 ลักษณะ คือ บริการเฉพาะบุคคล ซึ่งเป็นแบบไม่เป็นทางการ และการบริการเป็นกลุ่มซึ่งการบริการแบบเป็นทางการ
การบริการเฉพาะบุคคล เป็นการบริการช่วยเหลือผู้ใช้เมื่อผู้ใช้มีปัญหาต้องการความช่วยเหลือ จากปัญหาในการที่จะได้มาซึ่งข้อสนเทศที่ต้องการ เนื่องจากขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุด และปัญหาการใช้ทรัพยากรสารสนเทศบางประเภท ระบบการจัดการ การจัดเก็บ และการบริการ เช่น บริการสอน/แนะนำการใช้และการค้นคว้า (Library Instruction Services) บรรณารักษ์อ้างอิงจะจัดการบริการสอน/แนะนำผู้ใช้เกี่ยวกับ หลักการค้นสารสนเทศ การใช้เครื่องมือค้นทรัพยากรสารสนเทศ และสารสนเทศที่ห้องสมุดจัดบริการ เช่น การค้นจากหัวเรื่อง แลการกำหนดคำสำคัญ การใช้ตัวดำเนินการ การค้นฐานข้อมูลเฉพาะรายชื่อ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถได้มาในสิ่งที่เหมาะสม และตรงต่อความต้องการในการได้มาซึ่งข้อสารสนเทศสนเทศ 
การให้บริการเป็นกลุ่ม
เหมาะสำหรับการให้บริการสำหรับผู้ที่เป็นกลุ่มใหม่ที่เข้ามาใช้ห้องสมุด เช่น นักเรียน นักศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย หรือกลุ่มบุคคลใหม่ที่เข้ามาอยู่ในชุมชน
              การบริการเป็นกลุ่มจะมีทั้งการบริการที่ไม่เป็นทางการ คือ เมื่อร้องขอ หรือการบริการที่เป็นทางการ ซึ่งห้องสมุดจะมีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไว้ ในห้องสมุดโรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
              ลักษณะการบริการเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการในห้องสมุด แผนกต่าง ในห้องสมุด ทรัพยากรที่ห้องสมุดมี บริการห้องสมุดสำหรับผู้ใช้ และแนะนำให้รู้จักบุคลากรในแผนกต่างๆ
              การแนะนำอาจจะมีการจัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุดทั้งที่เป็นสิ่งพิมพ์ และเสนอบนอินเทอร์เน็ต เกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูล วิธีการสืบค้น วิธีการศึกษาค้นคว้า สำหรับใช้ประกอบการแนะนำ หรือการสอนผู้ใช้ห้องสมุด นอกเหนือจากการแนะนำโดยบรรณารักษ์
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ยอมรับกันว่าการบริการทางตรงโดยบรรณารักษ์ หรือบุคลากรห้องสมุด จะเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีแก่ผู้ใช้ มากกว่าการใช้สื่ออื่นๆ มาแทนในการแนะนำห้องสมุด ตัวอย่างของการบริการแบบกลุ่ม เช่น การนำชมห้องสมุด  บริการสอนการใช้เครื่องมือการค้น  บริการสอนการค้นคว้า 
ซึ่งในการสอนการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา มีบริการดังต่อไปนี้
1.       การสอนเป็นรายวิชาอิสระ (Stand-Alone Course or Class) เป็นรายวิชาหนึ่งของหลัก-สูตรซึ่งอาจจะเป็นวิชาบังคับหรือวิชาเลือกขึ้นอยู่กับนโยบายของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง
2.       การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา (Course-Related Instruction) เป็นการสอนการรู้สารสนเทศที่สอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานั้นๆ

3.       การสอนแบบบรูณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร (Course-Integrated Instruction) เป็นการสอนที่พัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยจัดทำหลักสูตรตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ และรูปแบบสอนจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนในรายวิชา ซึ่งอาจารย์ผู้สอนและบรรณารักษ์จะต้องทำงานร่วมกันในการวางแผนและการดำเนินการสอนในลักษณะสอนเป็นทีม
4.       โปรแกรมสอนห้องสมุด (One short Instruction)  จัดสอน อบรม ปฏิบัติการโดยห้องสมุด
5.       บทเรียนออนไลน์ (Online Tutorials) เป็นการสอนผ่านเว็บไซต์มีการใช้สื่อประสม และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตช่วยในการพัฒนาบทเรียนให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
6.     สมุดฝึกหัด (Workbook) ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนกะทัดรัด และเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกทักษะการรู้สารสนเทศ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น